โดย : บริษัท จีที โกลด์ บูลเลี่ยน จำกัด
Fundamental
- Fed ไม่ต่ออายุโครงการผ่อนคลายด้านเงินทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่กำลังจะหมดอายุลงในสิ้นเดือนนี้ซึ่งเป็นการลดสภาพคล่องในภาคธนาคารลงบางส่วน
- รัสเซียประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น0.25%มาอยู่ที่ 4.50% เพื่อสกัดกั้นภาวะเงินเฟ้อที่คาดว่าจะแตะ 4.0% ในปีหน้า สะท้อนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกว่ากำลังทยอยเปลี่ยนทิศทางกลับเข้าสู่ขาขึ้น
Technical
- รูปซ้ายราคาร่วงหนักแล้วดีดกลับ ทำให้ระยะสั้นเกิดการแกว่งไร้ทิศทางคาบช่วงแนวรับ-แนวต้าน และแม้จะออกจากกรอบการสวิง1,718-1,755 ก็ยังไม่แน่ว่าจะมีแรงส่งไปทางนั้นต่อ
- รูปขวาราคายืนบนช่วงแนวรับ ทำให้ดูเหมือนฝั่งซื้อได้เปรียบกว่าในระยะสั้น แต่ RSI แกว่งผันผวนแบบไร้ทิศทางในช่วงกลาง เป็นสัญญาณเตือนให้ระวังว่า ทิศทางราคายังอยู่ในช่วงที่เอาแน่เอานอนไม่ได้
- ทิศทางวันนี้ผันผวนไร้ทิศทาง
- จับจังหวะเล่นยังไง?trading ในกรอบ1,718-1,755
Attention
- แนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปจะฟื้นจากโควิดได้ช้ากว่าคาด เพราะวัคซีนขาดแคลน จึงยังเลิก lockdown ไม่ได้
- บางประเทศในกลุ่มยูโรโซนประกาศว่าจะกลับมาใช้วัคซีนของ Oxford-AstraZeneca อีกครั้งหลังพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัย
โดย : บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด(HGF)
สัปดาห์ที่แล้วทองคำเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์
สัปดาห์นี้ติดตามการแถลงของประธานาธิบดีโจ ไบเดน
ราคาทองคำคาดเคลื่อนไหวในกรอบ 1,720-1,760 ดอลลาร์
- สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาทองคำเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ที่ 1,755 ดอลลาร์ หลังจากการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ย 0-0.25% และมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) วงเงิน 1.2 แสนล้านดอลลาร์/เดือน พร้อมกับส่งสัญญาณว่าจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนถึงปี 2566 แต่ในปลายสัปดาห์ราคาทองคำลดลง เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเพิ่มขึ้นแตะ 1.75% และเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ทางด้านกองทุน SPDR Gold Trust ขายทองคำ 0.29 ตันในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเข้าซื้อทองคำ 3.50 ตันเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
- สัปดาห์นี้ติดตามการแถลงของประธานาธิบดีโจ ไบเดน การกล่าวสุนทรพจน์นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด จีดีพีไตรมาส 4 ของสหรัฐ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่จะประกาศในสัปดาห์นี้มีหลายตัว ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสองและยอดขายบ้านใหม่เดือนก.พ. ดัชนี PMI ภาคการผลิตและดัชนี PMI ภาคบริการเดือนมี.ค. ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.พ. ดัชนีราคา PCE พื้นฐานเดือนก.พ. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.
- แนวโน้มราคาทองคำ Spot คาดจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,720-1,760 ดอลลาร์ โดยมีแนวต้าน 1,750 ดอลลาร์ และแนวต้านสำคัญที่ 1,760 ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวรับ 1,720 ดอลลาร์ และ 1,700 ดอลลาร์
ราคาทองตลาดโลก
Close | chg. | Support | Resistance |
1,744.86 | +8.81 | 1,720/1,700 | 1,760/1,780 |
ราคาทองแท่ง 96.5%
Close | chg. | Support | Resistance |
25,400 | – | 25,200/24,950 | 25,650/25,850 |
โกลด์ฟิวเจอร์ส
Close | chg | Support | Resistance |
25,560 | +40 | 25,300/25,060 | 25,770/25,990 |
แนะนำเทรดดิ้งระยะสั้นซื้อขายตามกรอบราคาทอง Spot ระหว่าง 1,720-1,750 ดอลลาร์ (GF 25,300-25,670 บาท) โดยแนะนำเปิดสถานะซื้อที่ราคาทอง Spot 1,720 ดอลลาร์ (GF 25,300 บาท) โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,700 ดอลลาร์ (GF 25,060 บาท)
โกลด์ออนไลน์ฟิวเจอร์
Close | chg | Support | Resistance |
1,743.50 | +4.10 | 1,720/1,700 | 1,760/1,780 |
แนะนำเทรดดิ้งระยะสั้นซื้อขายตามกรอบราคา GOH21 ระหว่าง 1,720-1,750 ดอลลาร์ โดยแนะนำเปิดสถานะซื้อที่ราคา GOH21 ปรับลงมาที่ 1,720 ดอลลาร์ โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,700 ดอลลาร์
ค่าเงิน
ทิศทางเงินบาทในวันนี้คาดจะอ่อนค่าลง โดยเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่าจะไม่ต่ออายุโครงการผ่อนคลายด้านเงินทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ สำหรับ USD Futures เดือนมี.ค.64 คาดจะมีแนวรับที่ 30.75 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้านที่ 30.94 บาท/ดอลลา
News
ตลาดการเงินต่างประเทศ: ดอลลาร์แข็งค่า หลังเฟดไม่ต่ออายุโครงการหนุนเงินทุนแบงก์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา (19 มี.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า จะไม่ต่ออายุโครงการผ่อนคลายด้านเงินทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.07% แตะที่ 91.9180 เมื่อคืนนี้
ตลาดโลหะมีค่าต่างประเทศ : ทองปิดบวก 9.2 ดอลล์ สูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา (19 มี.ค.) ที่ระดับสูงสุดในรอบราว 3 สัปดาห์ โดยได้แรงหนุนจากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐชะลอตัวลงหลังพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี และสัญญาทองยังได้แรงหนุนจากความวิตกเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ และการร่วงลงของตลาดหุ้นในสัปดาห์นี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 9.2 ดอลลาร์ หรือ 0.53% ปิดที่ 1,741.7 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 25 ก.พ. และในรอบสัปดาห์นี้ ปรับตัวขึ้น 1.3%
ตลาดน้ำมันดิบต่างประเทศ : น้ำมัน WTI ปิดบวก 1.42 ดอลล์ ข่าวโจมตีโรงงานน้ำมันซาอุฯหนุนตลาด
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา (19 มี.ค) โดยปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 วัน หลังได้แรงหนุนบางส่วนจากสถานการณ์ตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นในตะวันออกกลาง แต่ราคาน้ำมันยังคงร่วงลงมากที่สุดในรอบสัปดาห์นี้นับตั้งแต่เดือนต.ค. เนื่องจากนักลงทุนวิตกว่า การล็อกดาวน์รอบใหม่ และความล่าช้าในการฉีดวัคซีนในบางประเทศของยุโรป จะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 1.42 ดอลลาร์ หรือ 2.4% ปิดที่ 61.42 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ร่วงลง 6.4% ในรอบสัปดาห์นี้ สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 1.25 ดอลลาร์ หรือ 2% ปิดที่ 64.53 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ร่วงลง 6.8%ในรอบสัปดาห์นี้
ตลาดหุ้นต่างประเทศ : ดาวโจนส์ปิดลบ 234.33 จุด หุ้นแบงก์ฉุดตลาด
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา (19 มี.ค.) และลดลงในรอบสัปดาห์นี้ โดยหุ้นกลุ่มธนาคารถูกกดดันหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า จะไม่ต่ออายุโครงการผ่อนคลายด้านเงินทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ และตลาดยังถูกถ่วงลงจากรายงานข่าวที่ว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐกำลังทำการตรวจสอบบริษัทวีซ่า อิงค์เกี่ยวกับพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นสวนทางตลาด และช่วยหนุนดัชนี Nasdaq ปิดบวก ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 32,627.97 จุด ลดลง 234.33 จุด หรือ -0.71% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,913.10 จุด ลดลง 2.36 จุด หรือ -0.06% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,215.24 จุด เพิ่มขึ้น 99.07 จุด หรือ +0.76%
โดย : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)
คำแนะนำ :
ซื้อขายเพื่อเก็งกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว โดยหากราคาทองคำสามารถยืนเหนือบริเวณ 1,727-1,717 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ให้เข้าซื้อ และทยอยปิดสถานะทำกำไรหากไม่ผ่านบริเวณแนวต้าน 1,747-1,759 ดอลลาร์ต่อออนซ์
แนวรับ : 1,717 1,707 1,690 แนวต้าน : 1,759 1,776 1787
ปัจจัยพื้นฐาน :
ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 8.81 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แม้จะได้รับแรงกดดันจากการทะยานขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี หลังธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ประกาศ “ไม่ต่ออายุ” โครงการผ่อนคลายด้านเงินทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นการยกเว้นให้ “ไม่ต้องนำ” พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและเงินฝากที่สถาบันการเงินฝากไว้กับเฟดเข้าไปคำนวณใน total leverage exposure ซึ่งเป็นตัวหารที่ใช้ในการคำนวณ SLR (supplementary leverage ratio) สถานการณ์ดังกล่าวกระตุ้นการคาดการณ์ว่าแรงซื้อพันธบัตรจากสถาบันการเงินอาจ “ลดลง” ในอนาคต รวมถึงอาจกระตุ้นให้เกิดแรงเทขายพันธบัตรที่สถาบันการเงินถือครองอยู่ออกมาเพื่อรักษาระดับ SLR ปัจจัยดังกล่าวกดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี แรงซื้อทองคำแข็งแกร่ง เนื่องจากนักลงทุนบางส่วนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยจากความวิตกเกี่ยวกับความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐ หลังจากการประชุมของเจ้าหน้าที่ระดับสูงระหว่าง 2 ประเทศจบลงโดยไร้ความคืบหน้าที่สำคัญ ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและรัสเซียก็ย่ำแย่ลงเช่นกัน หลังจากปธน.ไบเดนกล่าวหาว่าปธน.ปูตินเป็นฆาตกร ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำเพิ่ม +3.50 ตัน ปัจจัยที่กล่าวมาหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดบริเวณ 1,746.58 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนที่เช้านี้ ราคาทองคำจะเปิดตลาดในแดนลบ โดยได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของดัชนีดอลลาร์แข็งค่า หลังค่าเงินลีราของตุรกีทรุดตัวลงอย่างหนัก ตอบรับข่าวที่ประธานาธิบดีตุรกี สั่งปลดผู้ว่าการธนาคารกลางตุรกี เหตุเพราะปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อและสกัดการร่วงลงของค่าเงินลีรา สำหรับวันนี้จับตาถ้อยแถลงนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดที่ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) นี้ในหัวข้อนวัตกรรมในยุคดิจิทัล และการเปิดเผยยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค :
ราคาดีดตัวแต่ยังไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านระดับ 1,747-1,759 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ อาจทำให้เกิดแรงขายกดดันให้ปรับตัวลงสู่ระดับ 1,727-1,717 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากราคาสามารถทรงตัวรักษาระดับไว้ได้ ราคามีโอกาสดีดตัวขึ้นช่วงสั้นอีกครั้ง แต่หากยืนเหนือโซนแนวรับแรกไม่ได้ ราคาจะอ่อนตัวลงทดสอบแนวรับโซน 1,707 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพื่อสะสมแรงซื้ออีกครั้ง
กลยุทธ์การลงทุน :
การเข้าซื้อยังคงเน้นการเก็งกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว โดยเปิดสถานะซื้อหากราคาอ่อนตัวลงมาในโซน 1,727-1,717 ดอลลาร์ต่อออนซ์ พร้อมลดการลงทุนหากราคาหลุด 1,707 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้ อาจพิจารณาแบ่งทองคำออกขายทำกำไรบางส่วนหากราคาทองคำไม่ผ่านแนวต้านที่ 1,747-1,759 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ข่าวสารประกอบการลงทุน :
- (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 234.33 จุด หุ้นแบงก์ฉุดตลาด ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (19 มี.ค.) และลดลงในรอบสัปดาห์นี้ โดยหุ้นกลุ่มธนาคารถูกกดดันหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า จะไม่ต่ออายุโครงการผ่อนคลายด้านเงินทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ และตลาดยังถูกถ่วงลงจากรายงานข่าวที่ว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐกำลังทำการตรวจสอบบริษัทวีซ่า อิงค์เกี่ยวกับพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นสวนทางตลาด และช่วยหนุนดัชนี Nasdaq ปิดบวก ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 32,627.97 จุด ลดลง 234.33 จุด หรือ -0.71% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,913.10 จุด ลดลง 2.36 จุด หรือ -0.06% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,215.24 จุด เพิ่มขึ้น 99.07 จุด หรือ +0.76%
- (+) ทูตรัสเซียประจำสหรัฐกลับถึงมอสโก หลังไบเดนเรียกปูตินฆาตกร อนาโตลี อันโตนอฟ เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำสหรัฐ เดินทางกลับถึงกรุงมอสโกในวันนี้ เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับวิธีการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับรัสเซีย หลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวว่าประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน เป็นฆาตกร กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียประกาศเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า กระทรวงได้เรียกเอกอัครราชทูตรัสเซียประจำสหรัฐกลับประเทศเพื่อร่วมหารือกันอย่างเร่งด่วน หลังจากที่ปธน.ไบเดนกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์เอบีซีว่า เขาคิดว่าปธน.ปูตินเป็นฆาตกรที่ต้องรับผลจากการกระทำในการแทรกแซงการเลือกตั้งของสหรัฐ ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่รัสเซียปฏิเสธ
- (+) สหรัฐ-จีนปิดฉากประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูง ยังไม่มีความคืบหน้าที่สำคัญ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐและจีนเสร็จสิ้นการเจรจา 2 วันในรัฐแอลาสกาของสหรัฐแล้ว และได้ส่งสัญญาณในวันศุกร์ (19 มี.ค.) ว่า ยังไม่มีความความคืบหน้าที่สำคัญใดๆ ในด้านความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกัน นายแอนโทนี บลินเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ และนายเจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐได้เข้าร่วมประชุมกับนายหยาง จีฉี เจ้าหน้าที่ทูตระดับสูงของจีน และนายหวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของจีนที่เมืองแองเคอเรจ รัฐแอลาสกาในวันที่ 18-19 มี.ค.นี้ การพบปะกันดังกล่าวถือเป็นการประชุมแบบพบหน้ากันเป็นครั้งแรกระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ 2 ประเทศนับตั้งแต่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนเข้าดำรงตำแหน่งในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา
- (-) เฟดประกาศไม่ต่ออายุโครงการผ่อนคลายเงินทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศในวันนี้ว่า เฟดจะไม่ต่ออายุโครงการผ่อนคลายด้านเงินทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะหมดอายุในสิ้นเดือนนี้ หลังจากที่มีการใช้กันมาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2563 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในสหรัฐ โครงการดังกล่าวอนุญาตให้ธนาคารต่างๆสามารถลดทุนหากมีการถือครองพันธบัตรและตราสารหนี้อื่น โดยธนาคารไม่ต้องนำมูลค่าของพันธบัตรและเงินฝากที่ฝากไว้กับเฟดเข้ารวมในการคำนวณ leverage ratio เฟดหวังว่ามาตรการผ่อนคลายเงินทุนดังกล่าวจะช่วยสร้างเสถียรภาพต่อตลาดพันธบัตรในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 และช่วยหนุนให้ภาคธนาคารปล่อยเงินกู้มากขึ้น หลังจากที่ธนาคารต่างๆได้พากันขายพันธบัตรเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดของโควิด-19
- (-) “มอร์แกน สแตนลีย์” แจงบอนด์ยีลด์พุ่งสะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจสหรัฐ นายจิม แครอน ผู้จัดการพอร์ทโฟลิโอตราสารหนี้โลกของมอร์แกน สแตนลีย์ กล่าวว่า การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล และเป็นการสะท้อนความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ นายแครอนกล่าวว่า การดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐไม่ได้เป็นสิ่งที่แสดงถึงภาวะตึงตัวทางการเงิน และการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐจะไม่ทำให้เกิดเงินเฟ้อรุนแรงตามที่มีความกังวลในตลาด
- (-) ดอลลาร์แข็งค่า หลังเฟดไม่ต่ออายุโครงการหนุนเงินทุนแบงก์ ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (19 มี.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า จะไม่ต่ออายุโครงการผ่อนคลายด้านเงินทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.07% แตะที่ 91.9180 เมื่อคืนนี้ ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9291 ฟรังก์ จากระดับ 0.9284 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 108.88 เยน จากระดับ 108.99 เยน และดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2494 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2507 ดอลลาร์แคนาดา ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1909 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1914 ดอลลาร์, เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3870 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3929 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7748 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7764 ดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : gold.in.th( 22 มี.ค.64)