บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 31 พ.ค.64 by YLG, SCT

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

เน้นเก็งกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว โดยมีแนวต้านบริเวณ 1,913 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และหากราคาขยับขึ้นควรแบ่งขายทำกำไร และการเข้าซื้ออาจดูบริเวณแนวรับ1,890-1,884 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากหลุดให้ชะลอการเข้าซื้อไปที่โซนแนวรับถัดไป

แนวรับ : 1,884 1,872 1,859  แนวต้าน : 1,913 1,927 1,934

จจัยพื้นฐาน :

ราคาทองคำในวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น  6.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แม้ในระหว่างวันราคาทองคำจะร่วงลงแตะระดับต่ำสุดบริเวณ  1,882.35 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนี Core PCE พื้นฐาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้นเกินคาดที่0.7% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายเดือน และเมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE พื้นฐาน พุ่งขึ้นเกินคาดเช่นกันถึง3.1% ในเดือนเม.ย. สะท้อนว่าเงินเฟ้อในสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 13 ปีจึงมีแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ  อีกทั้ง “ตลาดไม่ได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย” สะท้อนจาก Eurodollar futures ที่สิ้นสุดอายุในเดือนธ.ค.2022 และมี.ค. 2023 ยังคงเคลื่อนไหวในกรอบส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวลดลงมาเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 1.6% อีกครั้ง สถานการณ์ดังกล่าวช่วยหนุนราคาทองคำให้ทะยานขึ้นกว่า 20 ดอลลาร์ต่อออนซ์จากระดับต่ำสุดในระหว่างวันสู่ระดับสูงสุดบริเวณ 1,905.51ดอลลาร์ต่อออนซ์แม้ว่าสกุลเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น  ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวสูงขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยสกัดช่วงบวกราคาทองคำก็ตามด้านกองทุน SPDR ในวันศุกร์ถือครองทองคำลดลง  -0.87 ตัน  แต่ถือครองทองคำเพิ่มในรายสัปดาห์เป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน  สำหรับวันนี้ไม่มีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ  ขณะที่ปริมาณการซื้อขายอาจเบาบางกว่าปกติ  เนื่องจากตลาดทองคำอังกฤษปิดทำการในวันสิ้นสุดฤดูใบไม้ผลิ (Spring bank holiday)  ขณะที่ตลาดทองคำ  ตลาดเงินและตลาดทุนของสหรัฐปิดทำการเนื่องในวันทหารผ่านศึก (Memorial Day)

ปัจจัยทางเทคนิค :

หากราคาทองคำยังไม่สามารถยืนเหนือโซน 1,913 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้แรงซื้อยังคงถูกจำกัด สำหรับวันนี้ประเมินแนวรับระยะสั้นในโซน 1,890-1,884 ดอลลาร์ต่อออนซ์ขณะที่แนวรับสำคัญจะอยู่ในโซน1,872 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน :

เน้นการซื้อขายทำกำไรระยะสั้น โดยเปิดสถานะซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลงใกล้บริเวณ1,890-1,884 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ฝั่งซื้อตัดขาดทุน 1,872 ดอลลาร์ต่อออนซ์) และ ขายทำกำไรเมื่อราคาปรับตัวขึ้นไม่ผ่านแนวต้าน1,913 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) สื่อเผยทำเนียบขาวคาดเศรษฐกิจชะลอตัว หลังฟื้นตัวช่วงแรกจากผลกระทบโควิดหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์รายงานว่า ทำเนียบขาวคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงอย่างมาก หลังจากที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงแรกจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  นิวยอร์กไทมส์ระบุว่า รัฐบาลของประธานาธิบดีโจไบเดนคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะมีการขยายตัวเพียง 2% ในปี 2566 และชะลอตัวสู่ 1.8% จนถึงปี 2568  นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐยังคาดว่าอัตราการว่างงานจะอยู่ที่ระดับ 3.8% ตั้งแต่ปี 2566
  • (+) ผลสำรวจม.มิชิแกนชี้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐต่ำกว่าคาดในเดือนพ.ค.  ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 82.9 ในเดือนพ.ค. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากแตะระดับ 88.3 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐในเดือนมี.ค.2563
  • (-) ดอลล์แข็งค่า ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจแกร่ง-เงินเฟ้อเพิ่มในสหรัฐ  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (28 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ขานรับการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ และบ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้นขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.06% แตะที่ 90.0300 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 109.80 เยน จากระดับ 109.78 เยน, แข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8993ฟรังก์ จากระดับ 0.8970ฟรังก์ และดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2078 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2065 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2196 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2198 ดอลลาร์, เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.4192 ดอลลาร์ จากระดับ 1.4209 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7709 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7744 ดอลลาร์
  • (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 64.81 จุด ขานรับเศรษฐกิจฟื้นตัว-เมินเงินเฟ้อเพิ่ม  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (28 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนขานรับการเปิดเผยข้อมูลที่ยืนยันว่าเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวจากผลกระทบของโรคโควิด-19 แม้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 13 ปีก็ตาม โดยดัชนีดาวโจนส์และดัชนี S&P500 ปิดตลาดในสัปดาห์นี้บวกขึ้นได้เป็นสัปดาห์แรกในรอบ 3 สัปดาห์  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,529.45 จุด เพิ่มขึ้น 64.81 จุด หรือ +0.19%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,204.11 จุด เพิ่มขึ้น 3.23 จุด หรือ +0.08% และดัชนี Nasdaqปิดที่ 13,748.74 จุด เพิ่มขึ้น 12.46 จุด หรือ +0.09%
  • (-) ดัชนี PMI เขตชิคาโกพุ่งเกินคาดในเดือนพ.ค.  MNI Indicators ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก ดีดตัวสู่ระดับ 75.2 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2516 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 68.0 จากระดับ 72.1 ในเดือนเม.ย.
  • (+/-) สหรัฐเผยการใช้จ่ายผู้บริโภคชะลอตัวในเดือนเม.ย. หลังพุ่งในเดือนมี.ค. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้นเพียง 0.5% ในเดือนเม.ย. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากพุ่งขึ้น 4.2% ในเดือนมี.ค.นอกจากนี้ รายได้ส่วนบุคคลลดลง 13.1% ในเดือนเม.ย. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลง 14.0% หลังจากพุ่งขึ้น 20.9% ในเดือนมี.ค.
  • (+/-) สหรัฐเผยดัชนี PCE พื้นฐานพุ่งเกินคาดในเดือนเม.ย.กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนเม.ย. จากระดับ 0.5% ในเดือนมี.ค.  เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE พุ่งขึ้น 3.6% ในเดือนเม.ย. จากระดับ 2.3% ในเดือนมี.ค.  ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนเม.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.6% จากระดับ 0.4% ในเดือนมี.ค.  เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE พื้นฐาน พุ่งขึ้น 3.1% ในเดือนเม.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.9% จากระดับ 1.9% ในเดือนมี.ค.
  • (+/-) “ไบเดน” เผยแผนงบประมาณปีหน้า 6 ล้านล้านดอลล์ สูงสุดนับตั้งแต่สงครามโลก  คณะบริหารของประธานาธิบดีโจไบเดนแห่งสหรัฐเปิดเผยแผนงบประมาณรายจ่ายสำหรับปีงบประมาณ 2565 ซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือนต.ค.ปีนี้ที่ระดับ 6 ล้านล้านดอลลาร์ โดยนับเป็นระดับงบประมาณรายจ่ายสูงที่สุดของสหรัฐนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2  รัฐบาลสหรัฐได้จัดสรรงบประมาณ 8.4 หมื่นล้านดอลลาร์สำหรับความพยายามในการสร้างงานเพื่อช่วยเหลือชนชั้นกลางในสหรัฐ และจัดสรรงบประมาณ 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สำหรับการปรับลดภาษีสำหรับภาคครัวเรือนที่มีบุตรที่ยังเด็ก รวมถึงการจัดสรรงบประมาณสำหรับมาตรการสนับสนุนด้านการศึกษา อาทิ ค่าเล่าเรียนฟรี  ทั้งนี้ งบประมาณรายจ่ายดังกล่าวจะส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐมีหนี้สินในระดับสูง ซึ่งคณะบริหารของนายไบเดนวางแผนที่จะชดเชยด้วยการปรับขึ้นภาษีจากภาคธุรกิจและชาวอเมริกันที่ร่ำรวย

โดย : บริษัท ซินเนอร์จี้ คอมโมดิตี้ส์ เทรด จํากัด

คำแนะนำ : ทองปิดบวก สัปดาห์นี้โฟกัสตัวเลขจ้างานที่คาดว่าเยอะ คืนนี้สหรัฐฯปิด แนะย่อซื้อขึ้นขายเช่นเดิม
 
แนวรับ 1888|1873|1860   แนวต้าน 1910|1920|1930
              Gold/silver           USD           Baht        DOW (stock)
ระยะสั้น                           SW/SW UP              SW            SW             SW  
ระยะกลาง                             SW UP               SW            SW             SW UP
ระยะยาว                            NEUTRAL            BULLISH        NEUTRAL        BULLISH
คำแนะนำรายวัน SIDEWAYS    1883-1920
จุดเข้า BUY 1890-1900
เป้าหมาย 1915-30
SL 1880
รายสัปดาห์
คำแนะนำรายเดือน 1820-1990
จุดเข้า BUY 1870-90 เป้าหมาย 1920/1950
SL 1850
บทวิเคราะห์ : ทองปิดแดนบวกคืนวันศุกร์ สัปดาห์นี้ตลาดจับตาตัวเลขจ้างงาน NFP วันศุกร์ที่คาดการณ์ว่าจะสูงขึ้น และจะกดดันทอง โดยมีแนวต้านแถว $1920-30/1950   ภาพรวมที่ผ่านมาทองขึ้นได้เยอะเพราะเงินเฟ้อ บิทคอยน์ลงและตัวเลขสหรัฐฯหลายๆตัวแย่ คาดว่าสัปดาห์นี้เรายังเผชิญความผันผวนของราคาทั้งสัปดาห์ต่อไป ในลักษณะยิ่งสูงยิ่งหนาว และจะไม่แปลกที่การขึ้นแรงๆต่อไปเราอาจจะพบแรงเทขายหนัก เพราะค่าเงินสหรัฐฯก็เริ่มฟื้นตัวให้พอเห็น
กลยุทธ์ :  คืนวันนี้ตลาดสหรัฐฯปิดวันหยุด นักลงทุนระยะสั้นยังแนะนำเข้าซื้อช่วงย่อตัวเหมือนเดิม แล้วรอขายเมื่อดีดขึ้นโซนแนวต้าน ส่วนนักลงทุนระยะกลางจะเหนื่อยหน่อยเพราะเม็ดเงินไหลเข้าทองราคาจึงย่อลงน้อย แต่ก็แนะให้ทยอยซื้อติดมือไปบ้าง ตามทิศทางขึ้นของข่าวบวกทองต่อไปจนกว่าวันประชุม FOMC  กลางเดือนหน้าค่อยปรับแผนหลังทราบท่าทีเฟด

ที่มา : gold.in.th( 31 พ.ค. 64 )

Comments (0)
Add Comment