บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 9 มิ.ย.64 by HGF, GT, YLG

โดย  : บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด(HGF)

ทองคำปรับลดลงจากเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น

วันนี้จีนจะประกาศดัชนีราคาผู้บริโภคดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนพ.ค.

ทองคำคาดเคลื่อนไหวในกรอบ 1,870-1,900 ดอลลาร์

  • ราคาทองคำ Spot เมื่อวานปรับลดลงเคลื่อนไหวต่ำกว่า 1,900 ดอลลาร์ เนื่องจากเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นโดยสหรัฐประกาศดุลการค้าเดือนเม.ย.ขาดดุลลดลงเหลือ 6.89 หมื่นล้านดอลลาร์ จากที่เดือนมี.ค.ขาดดุล 7.44 หมื่นล้านดอลลาร์จำนวนตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้นเป็น9.3 ล้านตำแหน่ง จากที่เดือนมี.ค.อยู่ที่ระดับ  8.12 ล้านตำแหน่งซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เริ่มมีการเก็บข้อมูลในเดือนธ.ค.2543เและสูงกว่าที่ตลาดคาดจะเพิ่มขึ้นเป็น8.18 ล้านตำแหน่งทางด้านกองทุน SPDRGold Trust ถือครองทองคำเท่าเดิมเมื่อวาน
  • วันนี้จีนจะประกาศดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพ.ค. ตลาดคาดการณ์จะเพิ่มขึ้น 1.6%เมื่อเทียบรายปีหลังจากเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น0.9%ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนพ.ค. ตลาดคาดการณ์จะเพิ่มขึ้น 8.5%เมื่อเทียบรายปีหลังจากเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น6.8% ส่วนคืนนี้สหรัฐไม่มีประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ
  • แนวโน้มราคาทองคำ Spot คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 1,870-1,900 ดอลลาร์โดยมีแนวต้าน 1,900 ดอลลาร์ ถ้าผ่านขึ้นไปได้จะมีแนวต้านถัดไปที่ 1,910 ดอลลาร์และ 1,920 ดอลลาร์ ขณะที่ทองคำมีแนวรับ 1,880 ดอลลาร์ และ 1,870 ดอลลาร์

ราคาทองตลาดโลก

Closechg.SupportResistance
1,892.50-6.31,880/1,8701,900/1,910

ราคาทองแท่ง 96.5%

Closechg.SupportResistance
27,950+15027,800/27,60028,050/28,150

โกลด์ฟิวเจอร์ส

ClosechgSupportResistance
28,070-1027,900/27,74028,170/28,300

การเข้าซื้อเก็งกำไรการฟื้นตัวแนะนำเมื่อราคาทองคำ Spot ปรับลงมาที่1,880ดอลลาร์ (GF27,900บาท) โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,870ดอลลาร์ (GF 27,740บาท)

โกลด์ออนไลน์ฟิวเจอร์

ClosechgSupportResistance
1,894.70+0.601,882/1,8721,902/1,912

การเข้าซื้อเก็งกำไรการฟื้นตัวแนะนำเมื่อราคา GOM21 ปรับลงมาที่1,882ดอลลาร์โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,872ดอลลาร์

ค่าเงิน

ทิศทางเงินบาทในวันนี้คาดอ่อนค่าลงซึ่งเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆหลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐในวันพฤหัสนี้ เพื่อประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อของสหรัฐนอกจากนี้เงินบาทยังมีปัจจัยจากการกระจายวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19ในประเทศสำหรับ USD Futures เดือนมิ.ย.2564 คาดจะมีแนวรับที่ 31.15 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้านที่ 31.25 บาท/ดอลลาร์

News

ตลาดการเงินต่างประเทศ: ดอลล์แข็งรับข้อมูลเศรษฐกิจสดใสตลาดจับตาCPI สหรัฐ

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนที่ผ่านมา (8 มิ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งซึ่งรวมถึงตัวเลขขาดดุลการค้าที่ลดลงสู่ระดับต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในสัปดาห์นี้เพื่อประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อของสหรัฐดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงินเพิ่มขึ้น 0.14% แตะที่ 90.0731 เมื่อคืนนี้

ตลาดโลหะมีค่าต่างประเทศ :ทองปิดลบ $4.4 เหตุดอลล์แข็ง-นลท.ขายสินทรัพย์ปลอดภัย

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนที่ผ่านมา ( 8 มิ.ย.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ได้สร้างแรงกดดันต่อราคาทองคำนอกจากนี้นักลงทุนยังเทขายทองคำในฐานสินทรัพย์ที่ปลอดภัยหลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งซึ่งรวมถึงตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐที่ลดลงสู่ระดับต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ทั้งนี้สัญญาทองคำตลาดCOMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 4.4 ดอลลาร์หรือ 0.23% ปิดที่ 1,894.4 ดอลลาร์/ออนซ์สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 28.7 เซนต์หรือ 1.02% ปิดที่ 27.731 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปีเมื่อคืนนี้ (8 มิ.ย.) โดยได้ปัจจัยบวกจากการที่นักลงทุนคาดหวังว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกจะช่วยหนุนความต้องการใช้น้ำมันขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการเจรจาระหว่างสหรัฐและอิหร่านเกี่ยวกับข้อตกลงนิวเคลียร์ในสัปดาห์นี้รวมทั้งรายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐในวันนี้สัญญาน้ำมันดิบWTI ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 82 เซนต์หรือ 1.2% ปิดที่ 70.05 ดอลลาร์/บาร์เรลซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2561  สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 73 เซนต์หรือ 1% ปิดที่ 72.22 ดอลลาร์/บาร์เรลซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2562

ตลาดหุ้นต่างประเทศ :ดาวโจนส์ปิดลบ 30.42 จุดนักลงทุนชะลอเทรดก่อนสหรัฐเผยเงินเฟ้อ

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขยับลงเล็กน้อยเมื่อคืนที่ผ่านมา (8 มิ.ย.) ท่ามกลางบรรยากาศการซื้อขายที่ซบเซาเนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อในวันพฤหัสบดีนี้อย่างไรก็ดีดัชนีNasdaqยังคงปิดในแดนบวกโดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,599.82 จุดลดลง 30.42 จุดหรือ -0.09% ดัชนีS&P500 ปิดที่ 4,227.26 จุดเพิ่มขึ้น 0.74 จุดหรือ +0.02% ดัชนีNasdaqปิดที่ 13,924.91 จุดเพิ่มขึ้น 43.19 จุดหรือ +0.31%

โดย  : บริษัท จีที โกลด์ บูลเลี่ยน จำกัด

Fundamental

  • 1 เหรียญบิทคอยน์หลุดระดับ 1,000,000 บาท หลัง FBI ตามสืบจนเจอกระเป๋าเก็บ และยึดคืนเงินค่าไถ่จากการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ที่ส่งผลให้หลายพื้นที่ในสหรัฐฯขาดแคลนน้ำมันไปหลายวันได้สำเร็จ
  • ซึ่งถือเป็นข่าวลบอย่างยิ่งต่อความน่าเชื่อถือของสกุลเงินคริปโตทั้งหมดที่เคยถูกเชื่อว่าไม่มีอะไรสามารถเจาะระบบเพื่อตรวจสอบธุรกรรมย้อนกลับได้
  • ราคาทองคำจึงได้รับอานิสงส์ให้ยืนใกล้ระดับ 1,900ทั้งจากข่าวดังกล่าวและความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ

Technical

  • รูปซ้ายเมื่อวานหลุด 1,900 แต่ลงไม่ถึงเส้น MA ที่1,875 จึงมีแนวโน้มจะแกว่งในระยะ 1,875-1,915
  • รูปขวาเมื่อวานยืน 1,895-1,900ไม่ได้ และแกว่งตัดเส้นขาลงไปมา แต่สามารถยืนบนเส้น MA ได้สำเร็จ ระยะสั้นจึงมีโอกาสขึ้นเกิน1,900 แต่ไม่น่าจะยืนได้
  • ทิศทางวันนี้ลุ้น 1,900 ยืนได้ / ไม่ได้
  • จับจังหวะเล่นยังไง?trading ในกรอบ 1,875-1,915 เน้นชอร์ตที่ 1,910-1,915

Attention

ติดตามผลการเจรจาวงเงินเบิกจ่าย 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ ระหว่างพรรคเดโมแครตกับพรรครีพับลิกัน

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

เข้าซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น โดยรอจังหวะการอ่อนตัวลงบริเวณโซน 1,884-1,869 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จึงค่อยเข้าซื้อ หรือ หากราคาทองคำไม่สามารถยืน 1,912-1,917 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ให้แบ่งทองคำออกขายเพื่อทำกำไรบางส่วน แต่หากผ่านได้ให้ชะลอการขายออกไป

แนวรับ : 1,884 1,869 1,857  แนวต้าน : 1,917 1,934 1,959

จจัยพื้นฐาน :

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง  6.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวนในกรอบ 1,903.19-1,884.32 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ทั้งนี้  ราคาทองคำปรับตัวขึ้นก่อนในช่วงเช้าของตลาดเอเชีย  ก่อนจะอ่อนตัวลงในช่วงต้นของตลาดยุโรป  หลังการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจของเยอรมนีที่ออกมาแย่เกินคาดซึ่งกดดันยูโรและทองคำให้ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในระหว่างวัน  อย่างไรก็ดี  ราคาดีดตัวขึ้นแรงในเวลาต่อมาโดยได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ10 ปีที่ร่วงสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบกว่า 1 เดือนที่ 1.513% ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค. หลัง NFIB เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจขนาดย่อมปรับตัวลงเกินคาดสู่ระดับ 99.6 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยให้พุ่งขึ้นทดสอบระดับสูงสุดในระหว่างวันบริเวณ 1,903 ดอลลาร์ต่อออนซ์อีกครั้ง  แต่ราคาทองคำทิ้งตัวลงแรงจากแรงขายทำกำไรในเวลาต่อมา  ขณะที่ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้น  ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ10 ปีฟื้นตัวขึ้นขานรับการเปิดเผยตัวเลขสหรัฐรายการอื่นที่ออกมาดีเกินคาด  อาทิ  ตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐที่ลดลงสู่ระดับ 6.89 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนเม.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.90 หมื่นล้านดอลลาร์ และตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน พุ่งขึ้นเกินคาดสู่ระดับ 9.3 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย.แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในเดือนธ.ค.2000  ส่งผลให้ราคาทองคำอ่อนตัวลงมาปิดตลาดบริเวณ 1,892.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งของสหรัฐ

ปัจจัยทางเทคนิค :

หากราคาทองคำพยายามขึ้นไปทดสอบแนวต้านในโซน  1,912-1,917 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ระดับสูงสุดของเดือนพ.ค.,มิ.ย.)แต่หากแรงซื้อไม่มากพอหรือราคาไม่สามารถยืนได้อย่างแข็งแกร่ง ทำให้ประเมินว่าในระยะสั้น ยังคงมีโอกาสปรับตัวลงทดสอบ แนวรับ 1,884 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่แนวรับถัดไปนั้นอยู่ในบริเวณ 1,869 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน :

รอเปิดสถานะซื้อในบริเวณ 1,884-1,869 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ลดพอร์ตสถานะซื้อหากราคาหลุด 1,869 ดอลลาร์ต่อออนซ์) หากราคาดีดตัวขึ้นให้พิจารณาโซน 1,912-1,917 ดอลลาร์ต่อออนซ์เป็นจุดทยอยปิดสถานะซื้อเพื่อทำกำไร

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) สหรัฐเผยดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจขนาดย่อมปรับตัวลงในเดือนพ.ค.  สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB) แถลงในวันนี้ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจขนาดย่อมปรับตัวลง 0.2 จุด สู่ระดับ 99.6 ในเดือนพ.ค. หลังจากปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 3 เดือน 
  • (+) ‘จีน’ เตือน ‘สหรัฐ’ เจรจาเอฟทีเอ ‘ไต้หวัน’นายจ้าว ลี่เจียง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน กล่าวในวันอังคาร (8 มิ.ย.) เรียกร้องให้สหรัฐ ยกเลิกการกระทำไม่ว่าจะในรูปแบบใดๆ ที่จะเป็นการแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการกับไต้หวัน และควรต้องดำเนินนโยบายเกี่ยวกับไต้หวันอย่างรอบคอบ พร้อมกับหลีกเลี่ยงการส่งสัญญานผิดๆ ถึงไต้หวัน  จีน อ้างว่า ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนจีน ท่ามกลางความพยายามของไต้หวันที่ต้องการให้ได้รับการยอมรับในฐานะประเทศเอกราช  ก่อนหน้านี้ สหรัฐได้เพิ่มการสนับสนุนไต้หวันต่อเนื่อง ทั้งอนุมัติการขายอาวุธทางการทหาร ส่งผู้แทนระดับสูงเยือน และล่าสุดให้คำมั่นว่าจะบริจาควัคซีนโควิด-19 จำนวน 750,000 โดส เพื่อสนับสนุนการต่อสู้กับโควิด-19 โดยทุกความเคลื่อนไหวทำให้รัฐบาลปักกิ่งขุ่นเคืองใจ  อย่างไรก็ตาม เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (7 มิ.ย.) นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ กล่าวกับสภาคองเกรสว่า การจัดทำเอฟทีเอระหว่างสหรัฐและไต้หวัน จะเริ่มต้นขึ้นเร็วๆนี้
  • (-) สหรัฐเผยตัวเลขการเปิดรับสมัครงานพุ่งเป็นประวัติการณ์ในเดือนเม.ย.  สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน พุ่งขึ้นสู่ระดับ 9.3 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในเดือนธ.ค.2543 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.18 ล้านตำแหน่ง
  • (-) สหรัฐเผยขาดดุลการค้าต่ำกว่าคาดในเดือนเม.ย.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐลดลง 8.2% สู่ระดับ 6.89 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนเม.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.90 หมื่นล้านดอลลาร์ จากระดับ 7.50 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
  • (-) ดอลล์แข็งรับข้อมูลเศรษฐกิจสดใส ตลาดจับตา CPI สหรัฐ  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (8 มิ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งรวมถึงตัวเลขขาดดุลการค้าที่ลดลงสู่ระดับต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อของสหรัฐ  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.14% แตะที่ 90.0731 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 109.48 เยน จากระดับ 109.26 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2105 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2070 ดอลลาร์แคนาดา แต่เมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ดอลลาร์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 0.8963 ฟรังก์ จากระดับ 0.8972 ฟรังก์  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2180 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2195 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.4164 ดอลลาร์
  • (-) เวิลด์แบงก์ปรับเพิ่มประมาณการ GDP โลกสู่ 5.6% ปีนี้ จากอานิสงส์ศก.สหรัฐ,จีน  ธนาคารโลกออกรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในวันนี้ โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 5.6% ในปีนี้ สูงกว่าระดับ 4.1% ที่คาดการณ์ในเดือนม.ค.  ธนาคารโลกระบุว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้เป็นการดีดตัวที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบ 80 ปีจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ รวมทั้งการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีน  อย่างไรก็ดี ธนาคารโลกเตือนว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงมีความไม่เท่าเทียมกัน โดยเศรษฐกิจในประเทศตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนายังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อันเนื่องจากปัญหาการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19  ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 5% ในปีหน้า จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 4.3% หากประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ได้มากขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว 6.8% ในปีนี้ ซึ่งจะเป็นการขยายตัวมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2527 จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 3.5% และคาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะขยายตัว 4.2% ในปีนี้ จากเดิมที่ระดับ 3.6% และคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัว 4.4% จากเดิมที่ระดับ 3.4%
  • (+/-) ดาวโจนส์ปิดลบ 30.42 จุด นักลงทุนชะลอเทรดก่อนสหรัฐเผยเงินเฟ้อ  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขยับลงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (8 มิ.ย.) ท่ามกลางบรรยากาศการซื้อขายที่ซบเซา เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อในวันพฤหัสบดีนี้ อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq ยังคงปิดในแดนบวก โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,599.82 จุด ลดลง 30.42 จุด หรือ -0.09% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,227.26 จุด เพิ่มขึ้น 0.74 จุด หรือ +0.02% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,924.91 จุด เพิ่มขึ้น 43.19 จุด หรือ +0.31%

ที่มา : gold.in.th( 9 มิ.ย.64)

Comments (0)
Add Comment