โดย : บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด(HGF)
ทองคำลดลงหลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
คืนนี้ติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)
แนวโน้มราคาทองคำในช่วงกลางคืนคาดจะฟื้นตัว
- ราคาทองคำSpot เมื่อวานปิดตลาดลดลง เนื่องจากนักลงทุนขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยหลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค.โดย Conference Boardเพิ่มขึ้นเป็น 89.3 สูงกว่าตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 88.9 จากระดับ 88.6 ในเดือนธ.ค. ดัชนีราคาบ้าน 20 เมืองใหญ่เดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 9.5%ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบกว่า 6 ปีและสูงกว่าตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 8.3% หลังจากเดือนต.ค.เพิ่มขึ้น 7.9%ทางด้านกองทุนSPDR Gold Trust ขายทองคำ 0.87 ตันเมื่อวาน
- คืนนี้ติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ซึ่งคาดการณ์ว่าเฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.00-0.25%และซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในวงเงิน 1.2 แสนล้านดอลลาร์/เดือน ส่วนคืนนี้สหรัฐจะประกาศยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนธ.ค. ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.0% หลังจากเดือนพ.ย.เพิ่มขึ้น 1.0%
- แนวโน้มราคาทองคำ Spot ในช่วงระหว่างวันคาดปรับลดลง แต่ในช่วงกลางคืนคาดจะฟื้นตัว โดยมีแนวต้านที่1,860 ดอลลาร์ และ 1,870 ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวรับที่ 1,837 ดอลลาร์ และ 1,830 ดอลลาร์
ราคาทองตลาดโลก
Close | chg. | Support | Resistance |
1,850.50 | -5.0 | 1,837/1,830 | 1,860/1,870 |
ราคาทองแท่ง 96.5%
Close | chg. | Support | Resistance |
26,350 | – | 26,100/26,000 | 26,350/26,500 |
โกลด์ฟิวเจอร์ส
Close | chg | Support | Resistance |
26,400 | -60 | 26,240/26,140 | 26,480/26,620 |
แนะนำเปิดสถานะซื้อเก็งกำไรการฟื้นตัวที่ราคาทอง Spot1,837 ดอลลาร์ (GF 26,240บาท) โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,830 ดอลลาร์(GF 26,140บาท)และขายทำกำไรที่ราคาทอง Spot1,860 ดอลลาร์ (GF 26,480บาท)
การลงทุนในทองแท่ง แนะนำขายทำกำไรที่ราคาทอง Spot 1,860-1,870ดอลลาร์
โกลด์ออนไลน์ฟิวเจอร์
Close | chg | Support | Resistance |
1,854.00 | -2.10 | 1,842/1,835 | 1,865/1,875 |
แนะนำเปิดสถานะซื้อเก็งกำไรการฟื้นตัวที่ราคา GOH21 1,842 ดอลลาร์ โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,835 ดอลลาร์
ค่าเงิน
ทิศทางเงินบาทในวันนี้คาดทรงตัว ซึ่งเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สำหรับ USD Futures เดือนมี.ค.64 คาดจะมีแนวรับที่ 29.90 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้านที่ 30 บาท/ดอลลาร์ และ 30.10 บาท/ดอลลาร์
News
ตลาดการเงินต่างประเทศ:ดอลล์แข็งค่าเหตุวิตกแผนกระตุ้นศก.หนุนคำสั่งซื้อสกุลเงินปลอดภัย
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนที่ผ่านมา (25 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐและความล่าช้าในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในสหรัฐดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงินเพิ่มขึ้น 0.17% แตะที่ 90.3900 เมื่อคืนนี้
ตลาดโลหะมีค่าต่างประเทศ:ทองปิดลบ 4.3 ดอลล์จากคำสั่งขายสินทรัพย์ปลอดภัย
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 4 เมื่อคืนที่ผ่านมา (26 ม.ค.) โดยทำสถิติปิดในแดนลบติดต่อกันยาวนานที่สุดในรอบกว่า 8 เดือนเนื่องจากนักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยหลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเมื่อคืนนี้ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีการแถลงในวันนี้ตามเวลาสหรัฐสัญญาทองคำตลาดCOMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 4.3 ดอลลาร์หรือ 0.23% ปิดที่ 1,850.9 ดอลลาร์/ออนซ์สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 5.4 เซนต์หรือ 0.21% ปิดที่ 25.538 ดอลลาร์/ออนซ์
ตลาดน้ำมันดิบต่างประเทศ: น้ำมันWTI ปิดลบ 16 เซนต์กังวลโควิดกระทบศก.-ดีมานด์น้ำมัน
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนที่ผ่านมา (26 ม.ค.) เนื่องจากความกังวลที่ว่าไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงแพร่ระบาดอย่างหนักทั้งในสหรัฐและทั่วโลกจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันขณะที่นักลงทุนจับตารายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันนี้สัญญาน้ำมันดิบWTI ส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 16 เซนต์หรือ 0.3% ปิดที่ 52.61 ดอลลาร์/บาร์เรลสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 3 เซนต์หรือ 0.1% ปิดที่ 55.91 ดอลลาร์/บาร์เรล
ตลาดหุ้นต่างประเทศ:ดาวโจนส์ปิดลบ 22.96 จุดจับตาประชุมเฟด-ผลประกอบการเอกชน ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเล็กน้อยเมื่อคืนที่ผ่านมา (26 ม.ค.) ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนรวมทั้งผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีการแถลงในวันนี้ตามเวลาสหรัฐหรือในช่วงเช้าตรู่วันพรุ่งนี้ตามเวลาไทยโดยนักลงทุนรอดูว่าเฟดจะยังคงซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในวงเงิน 1.2 แสนล้านดอลลาร์/เดือนต่อไปหรือไม่ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,937.04 จุดลดลง 22.96 จุดหรือ -0.07% ขณะที่ดัชนีS&P500 ปิดที่ 3,849.62 จุดลดลง 5.74 จุดหรือ -0.15% และดัชนีNasdaqปิดที่ 13,626.06 จุดลดลง 9.93 จุดหรือ -0.07%
โดย : บริษัท จีที โกลด์ บูลเลี่ยน จำกัด
Fundamental
- IMF มอง GDP โลกจะบวกมากขึ้นหลังกระจายวัคซีน โดยคาดว่าปีนี้ทั่วโลกจะโต +5.5% กลุ่มพัฒนาแล้ว +4.3% กลุ่มกำลังพัฒนา +6.3% สหรัฐฯ +5.1% จีน +8.1% อินเดีย +11.5%
- IMF คาดแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ ทำให้ GDP สหรัฐฯโตเพิ่มจากที่คาดได้อีก 5% ใน 3 ปี
- ราคาบ้านในสหรัฐฯเดือน พ.ย. พุ่งสูงสุดในรอบ 6 ปี
- คืนนี้ตลาดอยากเห็นFed ประเมินภาพเศรษฐกิจปีนี้ และบอกใบ้ว่าจะขึ้นดอกเบี้ยด้วยหรือไม่
Technical
- รูปซ้ายราคาแกว่งแคบลง การสวิงโดยรวมเป็นแบบ sideway down แต่ระหว่างวันยังไม่มีทิศทางชัดเจน
- รูปขวาราคาเริ่มทิ้งตัวทดสอบ neckline ของรูปแบบhead & shoulder ถ้าเช้านี้ไม่รีบดีดกลับขึ้นมาอยู่เหนือ1,850 ต้องระวังลงหนัก
- ทิศทางวันนี้แกว่งแรง ผันผวนสูง
- จับจังหวะเล่นยังไง?ดักเล่นสวน ซื้อเมื่อลงใกล้1,835 และขายเมื่อขึ้นถึง 1,861 / 1,867ยังเน้นเล่นสั้นจบในวัน
Attention
- ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกเกิน100,000,000 แล้ว
- ความปลอดภัยของวัคซีน COVID-19ยังเป็นปัญหา
โดย : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)
คำแนะนำ :
ระหว่างวันหากราคาทองคำไม่ทะลุแนวต้าน 1,870-1,875 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ อาจจะเห็นการอ่อนตัวลงทดสอบแนวรับ เสี่ยงซื้อในบริเวณ 1,837 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาหลุด 1,837 ดอลลาร์ต่อออนซ์)
แนวรับ : 1,837 1,818 1,800 แนวต้าน : 1,875 1,896 1,914
ปัจจัยพื้นฐาน :
ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 5.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ระหว่างวันราคาแกว่งตัวในกรอบ ท่ามกลางปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่เข้ามาส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคา ขณะที่ความวิตกว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของประธานาธิบดีไบเดนส่อเค้าล่าช้าและวงเงินอาจจะน้อยกว่าระดับดังกล่าว กระตุ้นแรงซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ประกอบกับ IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกและสหรัฐ นอกจากนี้ ราคาทองคำยังได้รับแรงกดดันเพิ่มจากการคาดการณ์ว่าจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (J&J) จะเปิดเผยผลการทดลองวัคซีนต้าน COVID-19 เข็มเดียวของทางบริษัทในสัปดาห์นี้ ปัจจัยที่กล่าวมากดดันการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ อย่างไรก็ดี มีแรงซื้อสลับเข้ามาพยุงราคาเอาไว้เช่นกัน ส่วนหนึ่ง คือ มีแรงซื้อทองคำกายภาพจากจีนในช่วงก่อนหน้าเทศกาลตรุษจีน สะท้อนจากราคาซื้อขายทองคำกายภาพในจีนที่ยังคงซื้อขายอยู่บนราคาพรีเมี่ยม รวมถึงตัวเลขนำเข้าทองคำสุทธิของจีนผ่านทางฮ่องกงที่เพิ่มขึ้นในเดือนธ.ค.เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน อีกทั้งสกุลเงินดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าในช่วงปลายตลาด เนื่องจากนักลงทุนบางส่วนระมัดระวังในการถือครองสถานะของดอลลาร์ ก่อนที่การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะเสร็จสิ้นลงในช่วงกลางดึกของคืนวันนี้ จึงเป็นปัจจัยสกัดช่วงติดลบของทองคำ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองลดลง -0.87 ตัน สำหรับวันนี้ จับตาผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) คาดเฟดคงดอกเบี้ยตามเดิม แต่แนะนำจับตาถ้อยแลถงของนายพาวเวลล์ ประธานเฟดเป็นสำคัญเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้การดำเนินนโยบายการเงินในอนาคตของเฟด รวมถึงติดตามการเปิดเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค :
บริเวณแนวต้านที่ 1,870-1,875 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ถ้าราคายังไม่สามารถผ่านได้ ซึ่งนักลงทุนยังคงต้องระมัดระวังแรงขายทำกำไรเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาเมื่อราคาทองคำมีการปรับตัวขึ้นยังคงมีแรงขายออกมาเช่นกัน อย่างไรก็ตามหากการอ่อนลงของราคาไม่หลุดโซนแนวรับอยู่ที่ 1,837 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ประเมินว่าราคาจะพยายามสร้างฐานราคาสะสมแรงซื้ออีกครั้ง
กลยุทธ์การลงทุน :
เสี่ยงเปิดสถานะซื้อในบริเวณ 1,837 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ลดพอร์ตการลงทุนหากราคาหลุดแนวดังกล่าว) หากราคาดีดตัวขึ้นให้พิจารณาโซน 1,870-1,875 ดอลลาร์ต่อออนซ์เป็นจุดปิดสถานะทำกำไร
ข่าวสารประกอบการลงทุน :
- (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 22.96 จุด จับตาประชุมเฟด-ผลประกอบการเอกชน ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (26 ม.ค.) ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน รวมทั้งผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีการแถลงในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ หรือในช่วงเช้าตรู่วันพรุ่งนี้ตามเวลาไทย โดยนักลงทุนรอดูว่าเฟดจะยังคงซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในวงเงิน 1.2 แสนล้านดอลลาร์/เดือนต่อไปหรือไม่ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,937.04 จุด ลดลง 22.96 จุด หรือ -0.07% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,849.62 จุด ลดลง 5.74 จุด หรือ -0.15% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,626.06 จุด ลดลง 9.93 จุด หรือ -0.07%
- (+) ดอลล์อ่อนเทียบสกุลเงินหลัก นักลงทุนจับตาผลประชุมเฟด ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (26 ม.ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีการแถลงในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ หรือในช่วงเช้าตรู่วันพรุ่งนี้ตามเวลาไทย โดยนักลงทุนรอดูว่าเฟดจะยังคงซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในวงเงิน 1.2 แสนล้านดอลลาร์/เดือนต่อไปหรือไม่ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.24% แตะที่ 90.1700 เมื่อคืนนี้ ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 103.64 เยน จากระดับ 103.79 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8865 ฟรังก์ จากระดับ 0.8881 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2695 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2749 ดอลลาร์แคนาดา ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2164 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2139 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3732 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3663 ดอลลาร์
- (-) “เอสแอนด์พี”เผยราคาบ้านสหรัฐพุ่งสูงสุดรอบกว่า 6 ปีในเดือนพ.ย. ผลสำรวจของเอสแอนด์พี คอร์โลจิก เคส ชิลเลอร์ ระบุว่า ดัชนีราคาบ้านทั่วประเทศในสหรัฐพุ่งขึ้น 9.5% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบกว่า 6 ปี ส่วนดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองของสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.1% ในเดือนพ.ย.
- (-) IMF ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2563-64 จากอานิสงส์วัคซีนโควิด กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (WEO) ในวันนี้ โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกหดตัว 3.5% ในปี 2563 ซึ่งดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ในเดือนต.ค.ปีที่แล้วที่ระบุว่าเศรษฐกิจโลกหดตัว 4.4% นอกจากนี้ IMF ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2564 สู่ระดับ 5.5% ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัว 5.2% และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 4.2% ในปี 2565 IMF ระบุว่า การอนุมัติวัคซีนต้านโควิด-19 จำนวนมากขึ้น และการฉีดวัคซีนในวงกว้างในประเทศต่างๆในเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว ได้ช่วยหนุนความหวังที่จะเห็นการยุติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ขณะที่การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากสหรัฐ ญี่ปุ่น และประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ได้เป็นปัจจัยฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี IMF เตือนว่าเศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญความไม่แน่นอน ท่ามกลางการแพร่ระบาดรอบใหม่ และการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ IMF คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว 5.1% ในปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 3.1% โดยได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 9 แสนล้านดอลลาร์ของรัฐบาลสหรัฐภายใต้อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และหากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของประธานาธิบดีโจ ไบเดนผ่านการอนุมัติของสภาคองเกรส ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐมีการขยายตัวมากขึ้น
- (-) EU จี้บริษัทวัคซีนเร่งส่งมอบ ขณะขู่ฟ้องศาลข้อหาละเมิดสัญญา นางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (EU) กล่าวว่า บริษัทผู้ผลิตวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 จะต้องรักษาคำพูดเกี่ยวกับการส่งมอบวัคซีนให้แก่ EU “ยุโรปได้ลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อช่วยพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 ครั้งแรกของโลก และเพื่อสร้างสินค้าสาธารณะสำหรับโลกอย่างแท้จริง และตอนนี้ บริษัทจะต้องส่งมอบวัคซีน โดยต้องรักษาข้อผูกพัน” นางฟอน เดอร์ เลเยน กล่าว
- (-) “จอห์นสัน” เตรียมเปิดผลทดลองวัคซีนโควิด คาดเข็มเดียวเอาอยู่ บริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (J&J) เปิดเผยว่า ทางบริษัทจะเปิดเผยผลการทดลองวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ในไม่ช้า มีการคาดการณ์ว่า J&J จะเปิดเผยผลการทดลองวัคซีนโควิด-19 ในสัปดาห์นี้ หลังจากที่ได้ทำการทดลองวัคซีนในระยะที่ 3 กับอาสาสมัครจำนวน 45,000 คน
- (-) Conference Board เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐสูงกว่าคาดในม.ค. ผลสำรวจของ Conference Board ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 89.3 ในเดือนม.ค. จากระดับ 87.1 ในเดือนธ.ค. และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 89.0
โดย : บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด (MTS)
ทิศทางราคาทองคำ
ราคาทองคำปรับตัวลดลงในเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯว่าจะผ่านออกมาได้ด้วยวงเงินเท่าไร ขณะที่ SPDR มีการเทขายทองคำออกมาบ้างเล็กน้อย 0.87 ตัน ปัจจุบันถือครองทองคำที่ 1,172.38 ตัน ทางด้านภาพรวมตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯออกมาดีขึ้น ได้แก่ CB Consumer Confidences สำหรับคืนนี้ต้องติดตาม Durable Goods Orders และ Core Durable Goods Orders ที่น่าจะออกมาดีขึ้น ในส่วนดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่ 90.30 จุด และเช้านี้ลงมาบ้างเล็กน้อย ทางด้านเงินบาทกลับมาแข็งค่าเล็กน้อยลงมาที่ 29.98 บาท/ดอลลาร์ โดยภาพรวมตลาดคงรอประชุมเฟดและความชัดเจนของถ้อยแถลงของประธานเฟดประมาณตี 2-2.30น. ตามเวลาไทยในคืนนี้เป็นสำคัญ
วิเคราะห์ราคาทองคำทางเทคนิค
ราคาทองคำยังเคลื่อนตัว Sideways ในกรอบแคบ ซึ่ง Gold Spot และ Gold Comex วันนี้น่าจะเคลื่อนในกรอบแนวรับ 1,840 เหรียญ และแนวต้าน 1,860 เหรียญ ขณะที่ Gold Online Futures คาดจะมีแนวรับ 1,844 เหรียญ และแนวต้าน 1,864 เหรียญ ในส่วนของราคาทองคำไทยคาดว่าจะปรับตัวลงประมาณ 100 – 150 บาท/บาททองคำ
กลยุทธ์การลงทุนในวันนี้
ลงซื้อขึ้นขายเก็งกำไรระยะสั้นๆในกรอบแคบ ปรับพอร์ตสมดุลรอผลประชุมเฟดคืนนี้
– นักลงทุนที่ถือ Long Position
แนะนำเล่นสั้นในกรอบแคบ รอผลประชุมเฟดเป็นสำคัญ
– นักลงทุนที่ถือ Short Position
เน้นบริหารพอร์ตสมดุลก่อนทราบผลประชุมเฟด
Gold Futures 10G21 จะมีแนวรับที่ระดับ 26,270 บาท และแนวต้านที่ระดับ 26,570 บาท
โดย: บริษัท จีแคป จำกัด
แนะแนวทางการลงทุน
แนวรับ 1,845 – 1,840- 1,835
แนวต้าน 1,863 – 1,868 – 1,873
ทองคำดีดตัวแต่ยังไม่สูงมากนัก แรงขายจากวันก่อนหน้ายังเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำ
ราคายังเคลื่อนตัวต่ำกว่าระดับเส้นค่าเฉลี่ย 100 วัน มองว่าแนวต้านยังเป็นจุดที่จะต้องปิดสถานะทำกำไรออกมาก่อน หากราคาไม่สามารถผ่านแนวต้านอาจพิจารณาเก็งกำไรทิศทางขาลงได้
แนวโน้มช่วงเช้า
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐและความล่าช้าในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในสหรัฐ
มุมมองทองคำภาคเช้า ทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (25 ม.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์ได้สร้างแรงกดดันต่อราคาทองคำ ขณะที่นักลงทุนจับตามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ โดยคาดว่าประธานาธิบดีโจ ไบเดนอาจจะต้องปรับลดวงเงินในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้สามารถผ่านการอนุมัติจากสภาคองเกรส
นักลงทุนจับตามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ โดยคาดว่าประธานาธิบดีโจ ไบเดนอาจจะต้องปรับลดวงเงินในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้สามารถผ่านการอนุมัติจากสภาคองเกรส หลังจากสมาชิกสภาคองเกรสหลายรายทั้งจากพรรครีพับลิกันและเดโมแครตต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์และตั้งข้อสงสัยถึงความจำเป็นของการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของปธน.ไบเดน นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ดัชนีราคาบ้านในเขต 20 เมืองใหญ่
ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดัชนีภาคการผลิต สาขาริชมอนด์ คำสั่งซื้อสินค้าคงทน GDP ดุลการค้า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน ดัชนีสินค้าคงคลัง ยอดขายบ้านใหม่ ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจ ต้นทุนค่าจ้างแรงงาน ดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภค ดัชนีจัดซื้อจัดจ้าง ชิคาโก ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ยอดขายบ้านที่รอปิดการขาย เป็นต้น
สรุปภาวะแลกเปลี่ยนเงินตรา
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 ม.ค.)เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ และความล่าช้าในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในสหรัฐ
ที่มา : gold.in.th ( 27 ม.ค.64 )