ราคาทองวันนี้ ข่าวทองคำ

วิเคราะห์ราคาทองคำ 23 เม.ย.64 by SCT, MTS, Gcap,YLG, GT

638

- Advertisement -

โดย : บริษัท ซินเนอร์จี้ คอมโมดิตี้ส์ เทรด จํากัด

คำแนะนำ : ทองพักฐานแกว่งผันผวนหลังมีข่าวปธน.ไบเดนมีแผนจะขึ้นภาษีเยอะกดดันตลาดหุ้นและทอง

แนวรับ 1777/ 1767|1753   แนวต้าน 1794|1800|1815
                  Gold/silver              USD           Baht            DOW (stock)
ระยะสั้น    SW/SW DOWN         SW             SW                  SW
ระยะกลาง        SW                     SW             SW               SW UP
ระยะยาว     NEUTRAL           BULLISH     NEUTRAL       BULLISH
คำแนะนำรายวัน SIDEWAYS  1760-1800
จุดเข้า buy 1753-70
เป้าหมาย 1800-1815
SL 1750
รายสัปดาห์
คำแนะนำรายเดือน 1675-1800
จุดเข้า BUY 1740 เป้าหมาย 1800
SL 1730
ราคาทองพักฐานแกว่งผันผวนหลังตัวเลขคนขอสวัสดิการดีขึ้นและปธน.ไบเดนมีแผนจะขึ้นภาษีคนรวยกดดันตลาดหุ้นและทองคำ ส่วน ECB ยังคงนโยบายเดิมดันค่าเงินยูโรตก ส่วนค่าเงินสหรัฐฯฟื้นตัวสั้นๆ ภาวะการณ์แบบนี้จะทำให้ราคาทองพักฐานเว้นเสียว่าวันนี้มีข่าวดันทองไปต่อชน $1800 จึงจะรักษาภาพการขึ้นของทองต่อไป ภาพรวมทองช่วงนี้กำลังมาถึงจุดไคลแม็กซ์ว่าจะยืน $1800 ได้ไหมที่จะเปลี่ยนเป็นขาขึ้น ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่วุ่นวายทั้งโควิด เงินเฟ้อ ภาษีและความตึงเครียด แต่รวมๆทองยังได้เปรียบนิดๆ คาดว่าตลาดจะรอตัดสินใจจากผลประชุม FOMC เฟดในกลางสัปดาห์หน้าว่าเฟดจะปรับแนวทางอย่างไรในสถานะการณ์ก้ำกึ่งเช่นนี้
กลยุทธ์ : ระยะสั้น รอซื้อช่วงย่อตัวแรงและหนีถ้าราคายืน $1750 ไม่ได้ / ระยะกลาง รอซื้อช่วงย่อสะสมเช่นเดิม ในกรณีทองยืน $1800 ได้ ก็สามารถลงทุนซื้อทองตามได้และขาชอตต้องระวัง

โดย  : บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด (MTS)

ทิศทางราคาทองคำ
ทองคำปรับตัวลงจากแรงเทขายทำกำไรและค่าเงินดอลลาร์ โดยดัชนีดอลลาร์จาก 91.1 จุด ไปทำสูงสุดบริเวณ 91.42 จุด ก่อนจะเปิดเช้านี้ 91.2 จุด และจะเห็นได้ว่าค่าเงินบาทของไทยก็เริ่มกลับมาอยู่ในทิศทางอ่อนค่า และเริ่มกลับขึ้นมาทดสอบ 31.40 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งโดยองค์รวมเงินบาทกลับมาตอบรับกับทิศทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่ดูจะมีแนวโน้มแย่ลงจากสถานการณ์ Covid-19 ไม่ว่าจะเป็นสถาบันกรุงไทย, หอการค้าไทย และศูนย์วิจัยกสิกร ก็มองเศรษฐกิจไทยปีนี้อาจโตได้เพียง 1.5-1.9% โดยประมาณ จากคาดการณ์เดิมที่ 3% ในขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯคืนนี้ ได้แก่ Flash Manufacturing PMI และ New Home Sales คาดว่าจะสะท้อนข้อมูลเศรษฐกิจเชิงบวกและหนุนดอลลาร์ โดยที่การปรับขึ้นเป็นผลมาจากการอัดฉีดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเท่านั้น ในส่วนของ SPDR เมื่อวานนี้ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติม

วิเคราะห์ราคาทองคำทางเทคนิค
ทองคำปรับตัวลงหลังทดสอบระดับสำคัญ 1,800 เหรียญ จากแรงเทขายทำกำไรในทองคำ ทำให้ภาพรวมของราคาทองคำยังถูกกดดันจากแรงเทขายทำกำไรกลับมาบริเวณ 1,780 เหรียญ ขณะที่โดยองค์รวมของภาพระยะสั้นและระยะกลางยังเป็นขาขึ้น และการที่ทองคำจะกลับเป็นขาขึ้นได้อย่างแข็งแกร่งน่าจะต้องใช้เวลาอีก 2-3 วัน ในการยืนเหนือ 1,800 เหรียญ เพื่อให้ราคากลับยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว วันนี้คาดว่าราคาจะยังเคลื่อนไหวในกรอบแนวรับ 1,770 เหรียญ และแนวต้าน 1,800 เหรียญ ในส่วนของ Gold Online Futures จะมีแนวรับ 1,772 เหรียญ และแนวต้านสำคัญแรก 1,800 เหรียญ ด้านทองคำไทยคาดว่าจะเห็นการปรับขึ้น 100 บาท/บาททองคำ

- Advertisement -

โดย: บริษัท จีแคป จำกัด

แนะแนวทางการลงทุน
แนวรับ 1,770- 1,765- 1,760
แนวต้าน 1,800- 1,805 – 1810
ทองคำอ่อนตัวลง หลังจากสกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นรับข่าวตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจากตัวเลขภาคแรงงานเมื่อคืนวานนี้
การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นปัจจัยลบต่อตลาดทองคำ เนื่องจากทำให้สัญญาทองคำซึ่งกำหนดราคาเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐนั้น มีราคาแพงขึ้นอย่างไรก็ตามนักลงทุนยังสามารถเข้าซื้อถั่วเฉลี่ยได้

แนวโน้มช่วงเช้า
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (22 เม.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งรวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ปรับตัวลงในสัปดาห์ที่แล้ว

มุมมองทองคำภาคเช้า ทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (22 เม.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ปรับตัวลงในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย นักลงทุนลดการถือครองทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเมื่อคืนนี้ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกอยู่ที่ระดับ 547,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ นอกจากนี้ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานดังกล่าวต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 603,000 ราย
อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่จะประกาศในคืนนี้ได้แก่ ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ ยอดขายบ้านใหม่ เป็นต้น

สรุปภาวะแลกเปลี่ยนเงินตรา
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (22 เม.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งรวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ปรับตัวลงในสัปดาห์ที่แล้ว

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

ราคาทองคำอ่อนตัวลงจะมีแนวรับบริเวณ 1,777-1,763 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากยืนได้ ราคามีโอกาสทดสอบแนวต้าน 1,800-1,806 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่สามารถผ่านได้ให้แบ่งขายทำกำไร

แนวรับ : 1,777 1,763 1,748  แนวต้าน : 1,806 1,820 1,836

จจัยพื้นฐาน :

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 9.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาทองคำขึ้นไปทดสอบระดับสูงสุดใหม่นี้บริเวณ 1,797 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ก่อนที่จะปรับตัวลดลงในเวลาต่อมา  ทั้งนี้  ราคาทองคำได้รับแรงกดดันจาก (1.) แรงขายทำกำไรและแรงขายทางเทคนิค (2.) การเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ “ดีเกินคาด”  อาทิ  ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานที่ลดลงสู่ระดับ 547,000 รายและแตะระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือน,  ดัชนี CFNAI ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ +1.71 ในเดือนมี.ค. จากระดับ -1.2 ในเดือนก.พ. และ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจจาก Conference Board ที่พุ่งขึ้น 1.3% สถานการณ์ดังกล่าวหนุนให้ดัชนีดอลลาร์แข็งค่า  พร้อมหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ให้ดีดตัวขึ้นจนเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำ  และ (3.) การร่วงลงของสกุลเงินยูโร  หลังธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติ “คง” อัตราดอกเบี้ย และ “คง” วงเงินของโครงการซื้อสินทรัพย์  อย่างไรก็ดี  นาง Christine Lagarde ประธาน ECB กล่าวว่า  ผู้กำหนดนโยบายยังไม่ได้หารือเกี่ยวกับการยุติโครงการเข้าซื้อพันธบัตรเพราะ “ยังเร็วเกินไป”  รวมถึงยังมองว่าเศรษฐกิจยังคง “ตกอยู่ภายใต้ความไม่แน่นอน” แม้จะมีสัญญาณของการฟื้นตัวและความคืบหน้าจากการฉีดวัคซีนต้าน COVID-19 ก็ตาม  ปัจจัยดังกล่าวหนุนดัชนีดอลลาร์เพิ่มจนกดดันราคาทองคำ  ส่งผลให้ราคาทองคำร่วงลงแตะระดับต่ำสุดบริเวณ 1,777.32 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ก่อนจะมีแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยเข้ามาพยุงราคาไว้  หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงแรงท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับแผนการขึ้นภาษีของปธน.ไบเดน ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ  รวมถึงยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐ

ปัจจัยทางเทคนิค :

ราคาขยับขึ้นแต่ก็มีแรงขายทำกำไรสลับออกมา ขณะที่แรงซื้อของราคาทองคำลดลงจากช่วงก่อนหน้า ซึ่งหากราคาทองคำไม่สามารถยืนเหนือ 1,800-1,806 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ มีผลให้ราคาปรับตัวลงเพื่อสะสมแรงซื้ออีกครั้ง โดยมีโอกาสเกิดแรงขายกลับลงมา โดยมีแนวรับในโซน 1,777-1,763 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน :

เน้นเข้าซื้อขายเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น โดยแนะนำให้นักลงทุนรอเข้าซื้อหากราคาย่อตัวลงมาและไม่หลุดแนวรับ 1,777-1,763 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หาจังหวะขายทำกำไรหากราคาดีดตัวขึ้นไปทดสอบบริเวณแนวต้าน 1,800-1,806 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดาวโจนส์ปิดร่วง 321.41 จุด วิตกข่าวไบเดนจ่อขึ้นภาษีเกือบสองเท่า  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (22 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลกับรายงานข่าวที่ว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐมีแผนที่จะปรับขึ้นภาษีกำไรที่ได้จากการลงทุนเพิ่มอีกเกือบสองเท่า โดยข่าวดังกล่าวส่งผลให้เกิดแรงเทขายในหุ้นทุกลุ่ม และยังได้บดบังปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐด้วย  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,815.90 จุด ลดลง 321.41 จุด หรือ -0.94% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,134.98 จุด ลดลง 38.44 จุด หรือ -0.92% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,818.41 จุด ลดลง 131.81 จุด หรือ -0.94%
  • (+) “บลูมเบิร์ก” เผยไบเดนมีแผนเพิ่มภาษี capital gains tax สูงถึง 43.4%  สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดนมีแผนที่จะปรับเพิ่มภาษีกำไรที่ได้จากการลงทุน (capital gains tax) สูงถึง 43.4% สำหรับชาวอเมริกันที่ร่ำรวย  นอกจากนี้ ข้อเสนอดังกล่าวยังระบุให้มีการปรับเพิ่มภาษีสูงถึง 39.6% สำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านดอลลาร์ จากปัจจุบันเรียกเก็บที่ระดับ 20%
  • (+) สหรัฐเผยยอดขายบ้านมือสองต่ำสุดรอบ 7 เดือนในมี.ค.  สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองร่วงลงมากกว่าที่คาดไว้ โดยดิ่งลง 3.7% สู่ระดับ 6.01 ล้านยูนิตในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.19 ล้านยูนิต
  • (+) บิทคอยน์ร่วงกว่า4%เคลื่อนไหวที่ 51,706 ดอลล์  บิทคอยน์ เทรดที่เว็บไซต์คอยน์เดสก์ เมื่อเวลา 06.00 น.ของวันนี้ (23เม.ย.)ปรับตัวร่วงลงกว่า4% เคลื่อนไหวที่ 51,706.33 ดอลลาร์  เมื่อวานนี้ (22เม.ย.)นายเฮลจ์ เบอร์เกอร์ หัวหน้าฝ่ายกิจการประเทศจีนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวว่า สกุลเงินดิจิทัลมีแนวโน้มที่จะช่วยให้ขอบข่ายการบริการด้านการเงินครอบคลุมมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็เตือนว่า มีความเสี่ยงที่จะต้องจับตาด้วย  “สกุลเงินดิจิทัลช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการถือเงินสดและการโยกย้ายเงินสด และเรามองเห็นประโยชน์ในการใช้สกุลเงินดิจิทัลในช่วงที่เศรษฐกิจเผชิญภาวะถดถอยเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หน่วยงานกำกับดูแลด้านการคลังในจีนใช้ระบบอิเล็กทรอนิกเพื่อพุ่งเป้าสนับสนุนด้านการคลังให้กับกลุ่มผู้บริโภคโดยเฉพาะ” นายเบอร์เกอร์กล่าว
  • (-) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานต่ำกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกอยู่ที่ระดับ 547,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ  นอกจากนี้ ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานดังกล่าวต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 603,000 ราย
  • (-) ดอลลาร์แข็งค่า ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจสดใส  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (22 เม.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งรวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ปรับตัวลงในสัปดาห์ที่แล้ว  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.2% แตะที่ 91.3389 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9182 ฟรังก์ จากระดับ 0.9172 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2498 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2496 ดอลลาร์แคนาดา แต่เมื่อเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 108.09 เยน จากระดับ 108.10 เยน  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2007 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2028 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3836 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3927 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์อ่อนเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7706 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7751 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (+/-) ECB มีมติคงดอกเบี้ย,วงเงินซื้อพันธบัตรในการประชุมวันนี้  ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและวงเงินในการซื้อพันธบัตรในการประชุมนโยบายการเงินในวันนี้ ขณะที่ ECB ยังคงจับตาเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ทั้งนี้ ที่ประชุม ECB มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.50% ขณะที่คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25%  นอกจากนี้ ECB มีมติคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) ที่ระดับ 1.85 ล้านล้านยูโร โดยจะซื้อพันธบัตรตามโครงการดังกล่าวจนถึงเดือนมี.ค.2565 ขณะที่ ECB จะซื้อพันธบัตรในวงเงินเดือนละ 2 หมื่นล้านยูโร  ก่อนหน้านี้ ECB ระบุในเดือนมี.ค.ว่า ECB จะเพิ่มวงเงินในการซื้อพันธบัตรในไตรมาส 2 เพื่อทำให้อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซนยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

โดย  : บริษัท จีที โกลด์ บูลเลี่ยน จำกัด

Fundamental

  • รัฐบาลสหรัฐฯมีแผนจะขึ้นภาษีกำไรจากการลงทุน (capital gains tax)เกือบเท่าตัว จาก 20% เป็น39.6%
  • ยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯในเดือนมี.ค.ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7เดือน
  • พรรครีพับลิกันเสนอแผนงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐาน 5 ปี มูลค่า 5.68 แสนล้านดอลลาร์ มาแข่งกับแผน 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ ของไบเดนและพรรคเดโมแครต เพื่อจะได้ไม่ต้องขึ้นภาษีจำนวนมากกับคนรวย
  • ECB มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยและวงเงินซื้อพันธบัตร

Technical

  • รูปซ้ายราคาลดระดับลงมาปรับฐานโดยที่ยังอยู่ห่างจากเส้นแนวโน้มขาขึ้น ส่วนRSI ได้ลดความแรงของbearish divergence ลงชั่วคราว ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อการผ่าน 1,800 ขึ้นไปสู่เป้าหมาย 1,815-1,835 ตามการกลับตัวด้วยรูป double bottom
  • รูปขวาRSI ลงลึกเกือบถึงเขต oversold ก่อนดีดกลับขึ้นมาดันให้ราคากลับมายืนเหนือเส้น MA ด้วย ถือเป็นสัญญาณบวกต่อการขึ้นไปยืนเหนือ 1,800
  • ทิศทางวันนี้ขึ้นเที่ยวนี้ อาทิตย์หน้าหมดรอบ
  • จับจังหวะเล่นยังไง?ซื้อ

Attention

โควิดทั่วโลกระบาดหนักขึ้น อัตราการติดเชื้อในหลายประเทศกลับพุ่งสูง และมีโอกาสมากขึ้นที่วัคซีนจะใช้ไม่ได้ผลเพราะการกลายพันธุ์มีความหลากหลายและรับมือได้ยากกว่าเดิมมาก

ที่มา : gold.in.th(23 เม.ย.64)

- Advertisement -

Leave a Reply