ราคาทองวันนี้ ข่าวทองคำ

วิเคราะห์ราคาทองคำ 3 พ.ค.64 by YLG, SCT, GT, MTS

724

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

เก็งกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว เมื่อราคาทดสอบแนวต้าน 1,783-1,797ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่สามารถผ่านได้ให้แบ่งขายทำกำไร อย่างไรก็ตาม ประเมินแนวรับที่ 1,756-1,741 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,756 1,741 1,728  แนวต้าน : 1,783 1,797 1,816

สรุป

- Advertisement -

ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวลดลง 3.04 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากวันพุธและพฤหัสบดีราคาทองคำมีการแกว่งตัวผันผวน  แต่ในวันศุกร์ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบแคบบริเวณ 1,773.66-1,764.13 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยรวมแล้วการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำถูกสกัดช่วงบวกจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ท่ามกลางการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาดีเกินคาด  อาทิ ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบรายปี, การใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้น 4.2% ในเดือนมี.ค. สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 4.1% และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐจากม,มิชิแกน พุ่งขึ้นแตะระดับ 88.3 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในสหรัฐในเดือนมี.ค.2020  นอกจากนี้ดอลลาร์ยังได้รับแรงหนุนเพิ่มจากการอ่อนค่าของสกุลเงินยูโร  เนื่องจากตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 1/2021 ของเยอรมนีหดตัว 1.7% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะหดตัว1.5% สถานการณ์ดังกล่าวหนุนให้ดัชนีดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น 0.69% แตะที่ 91.262 ในวันศุกร์จนเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันราคาทองคำ  อย่างไรก็ดี  จะเห็นได้ว่าราคาทองคำยังคงพยุงตัวรักษาระดับเหนือระดับต่ำสุดของวันก่อนหน้า  โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงสู่ระดับ  1.622% เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรเพื่อปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนในช่วงสิ้นเดือนซึ่งช่วงหนุนทองคำไว้  ด้านกองทุน SPDR ถือทองไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM และมาร์กิต  รวมถึงถ้อยแถลงของนายเจอโรม  พาวเวลล์  ประธานเฟดในการประชุมออนไลน์ที่จัดโดย National Community Reinvestment Coalition

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) เกาหลีเหนือเตือนสหรัฐเตรียมรับผลที่ตามมาหลังระบุเกาหลีเหนือเป็นภัยคุกคาม  สำนักข่าวกลางเกาหลี (KCNA) ของรัฐบาลเกาหลีเหนือรายงานว่า รัฐบาลเกาหลีเหนือได้เตือนสหรัฐว่า อาจเผชิญวิกฤติที่เลวร้ายกว่าเดิมหลังประธานาธิบดีโจ ไบเดน ระบุว่าโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือเป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรง  ควอน จอง กัน ผู้อำนวยการใหญ่ของกระทรวงกิจการต่างประเทศสหรัฐประจำเกาหลีเหนือ กล่าวในแถลงการณ์ที่เผยแพร่โดย KCNA ว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้วในการแถลงต่อสภาคองเกรสสหรัฐครั้งแรก ปธน.ไบเดนพลั้งปากพูดเรื่องเกาหลีเหนือ โดยกล่าวหาว่าเกาหลีเหนือเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อความมั่นคงของสหรัฐและประชาคมโลก  นายควอนกล่าวว่า “แถลงการณ์ดังกล่าวนั้นชัดเจนว่าปธน.ไบเดนตั้งใจจะคงนโยบายที่ไม่เป็นมิตรต่อเกาหลีเหนือต่อไปอีกเหมือนที่เคยทำมากว่า 50 ปีแล้ว”  นายควอนเตือนว่า “สหรัฐจะเผชิญกับวิกฤติที่เลวร้ายเกินจะควบคุมในอนาคต หากทำอะไรกระทบความสัมพันธ์สหรัฐ-เกาหลีเหนือ โดยยังคงยึดนโยบายที่ล้าสมัยจากมุมมองสมัยสงครามเย็น”  นายควอนระบุว่า “ในตอนนี้ชัดเจนแล้วว่าประเด็นสำคัญในนโยบายเกาหลีเหนือใหม่ของสหรัฐเป็นอย่างไร เราถูกบังคับให้ใช้มาตรการที่เกี่ยวข้อง และไม่นานสหรัฐจะพบว่าตัวเองอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายมาก”
  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 185.51 จุด แรงขายหุ้นเทคโนฯถ่วงตลาด  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (30 เม.ย.) โดยถูกกดดันจากแรงขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี อาทิ หุ้นแอมะซอน, แอปเปิล และอัลฟาเบท แม้บริษัทเหล่านี้เปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งก็ตาม ขณะที่การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีเกินคาดของสหรัฐนั้นไม่ได้ช่วยหนุนตลาดแต่อย่างใด  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,874.85 จุด ลดลง 185.51 จุด หรือ -0.54%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,181.17 จุด ลดลง 30.30 จุด หรือ -0.72% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,962.68 จุด ลดลง 119.86 จุด หรือ -0.85%
  • (-) อนามัยโลกไฟเขียวใช้วัคซีนโควิดของโมเดอร์นาในกรณีฉุกเฉินเป็นตัวที่ 5  องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยในวันศุกร์ (30 เม.ย.) ว่า WHO ได้เพิ่มวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัทโมเดอร์นาเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินแล้ว โดยนับเป็นวัคซีนตัวที่ 5 ที่ WHO อนุมัติให้ใช้ได้ในกรณีฉุกเฉิน  ในเดือนธ.ค. 2563 องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐ (FDA) ได้อนุมัติใช้วัคซีนของโมเดอร์นาเป็นกรณีฉุกเฉิน ขณะที่องค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) ได้อนุมัติให้จำหน่ายวัคซีนของโมเดอร์นาได้ทั่วสหภาพยุโรป (EU) ในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา
  • (-) ยูโรโซนเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยซ้ำซ้อนใน Q1 หลังหดตัว 2 ไตรมาสติดกัน  ยูโรสแตทซึ่งเป็นสำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป (EU) เปิดเผยในวันศุกร์ (30 เม.ย.) ว่า เศรษฐกิจของยูโรโซนหดตัวลง 0.6% ในไตรมาสแรกของปีนี้ หลังจากหดตัวลง 0.7% ในไตรมาส 4/2563  เศรษฐกิจที่หดตัวลง 2 ไตรมาสติดต่อกัน ทำให้ยูโรโซนซึ่งประกอบด้วยสมาชิก EU 19 ประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค แม้เศรษฐกิจดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งถึง 12.5% ในไตรมาส 3/2563 ก็ตาม
  • (-) ดอลล์แข็งค่าตามทิศทางบอนด์ยีลด์-ข้อมูลเศรษฐกิจแกร่ง  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (30 เม.ย.) โดยดอลลาร์ปรับตัวตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ และยังได้แรงหนุนจากการที่สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดด้วย  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.74% แตะที่ 91.2820 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 109.30 เยน จากระดับ 108.88 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9134 ฟรังก์ จากระดับ 0.9087 ฟรังก์ ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐทรงตัวเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2281 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2022 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2126 ดอลลาร์, เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3807 ดอลลาร์ จากระดับ  1.3950 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7704 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7776 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) สหรัฐเผยดัชนี PCE เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนมี.ค. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนมี.ค.    เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE ดีดตัวขึ้น 2.3% ในเดือนมี.ค. หลังจากปรับตัวขึ้น 1.5% ในเดือนก.พ.   ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค.   เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE พื้นฐาน ปรับตัวขึ้น 1.8% ในเดือนมี.ค.
  • (-) สหรัฐเผยการใช้จ่ายผู้บริโภคพุ่งเกินคาดในเดือนมี.ค. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้น 4.2% ในเดือนมี.ค. สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 4.1% หลังจากลดลง 1.0% ในเดือนก.พ.  นอกจากนี้ รายได้ส่วนบุคคลพุ่งขึ้น 21.2% ในเดือนมี.ค. สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 20.3% หลังจากลดลง 7.0% ในเดือนก.พ. 

โดย : บริษัท ซินเนอร์จี้ คอมโมดิตี้ส์ เทรด จํากัด

คำแนะนำ :  ทองอ่อนแอหลังดอลลาร์ฟื้น สัปดาห์นี้ตัวเลขสำคัญประกาศ
คาดทองแกว่งแรง ถ้ายืน 1760 ไม่ได้ต้องระวังร่วง

แนวรับ 1760|1755|1730   แนวต้าน 1774|1785|1790
              Gold/silver           USD           Baht        DOW (stock)
ระยะสั้น    SW                          SW             SW         SW
ระยะกลาง  SW UP            SW DOWN     SW         SW UP
ระยะยาว NEUTRAL  BULLISH  NEUTRAL BULLISH
คำแนะนำรายวัน SIDEWAYS  1750-1780
จุดเข้า buy 1760
เป้าหมาย 1800-1815
SL 1754
รายสัปดาห์
คำแนะนำรายเดือน 1675-1800
จุดเข้า BUY 1755-65 เป้าหมาย 1815
SL 1749
บทวิเคราะห์
ราคาทองปิดสัปดาห์เหนือ $1760 ได้ก็จริง แต่ดูอ่อนแรงเพราะค่าเงินสหรัฐฯฟื้นตัวหลัง US BOND YIELD ปิดเหนือ 1.6%  ภาพรวมทองได้ข่าวเชิงบวกมาหนุนไม่ว่าจะเป็นเรื่องเฟด เงินเฟ้อและราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายตัวดีดตัวแรง แต่ราคาทองวิ่งขึ้นมาไกลและเทสไม่ผ่าน $1800 หลายครั้ง ทำให้เริ่มมีการขายทำกำไร สัปดาห์นี้จะมีประกาศตัวเลขการผลิตและตัวเลขการจ้างงาน ที่สำคัญมีการคาดการณ์กันว่าตัวเลขเหล่านี้จะออกมาดีขึ้นและเป็นลบกับราคาทอง ดังนั้นหากราคาทองปิดต่ำกว่า $1760 เราอาจจะเห็นการพักฐานลงไปแถว $1725-35  อย่างไรก็ตามภาพระยะกลางทองยังมีลุ้นการทะลุ $1800 ได้จากปัจจัยพื้นฐานที่หนุน หลังการพักฐานชุดนี้จบ  กลยุทธ์ :  ระยะสั้นรอ BREAKOUT กรอบ $1756–90 แล้วเพิ่มน้ำหนักลงทุนตาม / ระยะกลาง ไปรอกาย่อตัวแถว $1725-35 หรือไล่ซื้อตาม $1795-1800 กรณีตัวเลขออกมาแย่มากๆ  

โดย  : บริษัท จีที โกลด์ บูลเลี่ยน จำกัด

Fundamental

  • เยลเลนเผยแผนอัดฉีดของไบเดนมูลค่า 6 ล้านล้านดอลลาร์ จะไม่ก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ เพราะกระจายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในช่วง 8-10 ปี และจะมีการเพิ่มอัตราภาษีสำหรับคนรวยและกิจการกลับมาชดเชยส่วนขาดดุลงบประมาณ
  • ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่สำรวจโดย ม.มิชิแกน พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี
  • เศรษฐกิจยูโรโซนไตรมาสแรก -0.6% นับเป็นการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย เพราะ GDP ติดลบติดกัน 2 ไตรมาส หลังจากหดตัว -0.7% มาแล้วในไตรมาส4

Technical

  • รูปซ้ายราคาสวิงยืนระยะบนเส้นMAแต่ยังประมาณทิศทางที่แน่นอนไม่ได้
  • รูปขวาราคาแกว่งระหว่างเส้น MA เป็นการบีบกรอบแคบลงเรื่อย ๆ ช่วงแนวรับ 1,755-1,765 ยังคงเป็นแนวกันชนให้ยังไม่เป็นขาลง แต่วันนี้ต้องระวังให้มาก
  • ทิศทางวันนี้เลือกทางระยะสั้น  ไม่มีผลกับภาพรวม
  • จับจังหวะเล่นยังไง?ซื้อสวนที่ช่วง 1,755-1,765 หรือ ซื้อเบรกเมื่อผ่าน 1,770 และยืนได้ โดยเน้นเล่นสั้นจบในวัน แต่ถ้าราคาดิ่งหลุด 1,755 แล้วกลับมายืนไม่ได้ ให้stop loss ทันที

Attention

  • โควิดทั่วโลกระบาดหนักขึ้น อัตราการติดเชื้อในหลายประเทศกลับพุ่งสูง และมีโอกาสมากขึ้นที่วัคซีนจะใช้ไม่ได้ผลเพราะการกลายพันธุ์มีความหลากหลายและรับมือได้ยากกว่าเดิมมาก
  • อินเดียติดเชื่อรายวันทะลุ 400,000 คาดมีผู้ป่วยอยู่ทั่วประเทศถึงหลักร้อยล้าน แต่ระบบสาธารณสุขกำลังเข้าขั้นวิกฤต ขีดความสามารถในการตรวจหามีจำกัด จึงพบแค่ 20 ล้าน

โดย  : บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด (MTS)

วิเคราะห์ราคาทองคำ

ราคาทองคำปรับตัวลดลงหลังจากที่ไม่สามารถยืนเหนือระดับ 1,780 เหรียญได้ โดยที่ยังมีปริมาณการซื้อขายไม่มากนัก ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯออกมาค่อนข้างดีเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ได้แก่ Core PCE Price Index m/m, Personal Income m/m, Chicago PMI และ Revised UoM Consumer Sentiment ขณะที่ Personal Spending m/m ออกมาแย่กว่าที่คาดแต่ดีกว่าเดิม สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในวันนี้ ได้แก่ ISM Manufacturing PMI คาดว่าจะออกมาดี ซึ่งจะส่งผลให้ดอลลาร์กลับมาแข็งค่าได้บ้าง ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อวันศุกร์ปิดตลาดที่ 91.25 จุด หลังจากที่เปิดตลาดที่ 90.7 จุดและเคลื่อนไหวทรงตัวในวันนี้ที่ 91.25 จุด  โดยภาพรวมตลาดยังคงรอความชัดเจนของนโยบายเศรษฐสหรัฐฯที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจอีก 1.8 ล้านล้านเหรียญ จะทำให้ดอลลาร์อ่อนและหนุนราคาทองคำให้สูงขึ้นได้ โดยราคาทองคำเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways ระหว่าง 1,760-1,780 เหรียญ จนกว่าราคาจะ Breakout ทะลุด้านใดด้านหนึ่ง

วิเคราะห์ราคาทองคำทางเทคนิค

ราคาทองคำยังคงเคลื่อนตัวในกรอบ Sideways โดยที่คาดว่าวันนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,765 เหรียญ เป็นแนวรับและ 1,785 เหรียญเป็นแนวต้าน สำหรับทองคำไทยคาดว่าจะปรับขึ้น 50 บาท/บาททองคำ

กลยุทธ์การลงทุนในวันนี้

เก็งกำไรในกรอบ Sideways เน้นเล่นสั้นๆ ลงซื้อขึ้นขายในกรอบ

– นักลงทุนที่ถือ Long Position 

ลงซื้อขึ้นขาย เน้นทำกำไรระยะสั้นๆในกรอบ รอความชัดเจนของทิศทางและมี Stop Loss ทุกครั้งป้องกันความเสี่ยง

– นักลงทุนที่ถือ Short Position

แนะนำให้ปิดทำกำไรเป็นช่วงๆตามการอ่อนตัวของราคา เน้นบริหารพอร์ต หากราคาไม่ผ่านแนวต้าน แนะรอ Open Short

ที่มา : gold.in.th(3 พ.ค. 64)

- Advertisement -

Leave a Reply