ราคาทองวันนี้ ข่าวทองคำ

วิเคราะห์ราคาทองคำ 6 พ.ค.64 by Gcap, HGF, YLG, SCT, InterGold

755

- Advertisement -

โดย: บริษัท จีแคป จำกัด

แนวโน้มช่วงเช้า
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้(5 พ.ค.) ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนเม.ย.ของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันพรุ่งนี้
มุมมองทองคำภาคเช้า ทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (5 พ.ค.) หลังจากนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐได้ออกมาชี้แจงว่า เธอไม่ได้คาดการณ์หรือให้คำแนะนำว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในเดือนเม.ย. อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน ผลผลิตนอกถาคการเกษตร ต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่อหน่วย การจ้างงานนอกภาคการเกษตร อัตราการว่างงาน รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงการทำงาน สินค้าคงคลังภาคค้าส่ง เป็นต้น
สรุปภาวะแลกเปลี่ยนเงินตรา
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (5 พ.ค.) ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนเม.ย.ของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันพรุ่งนี้
แนะแนวทางการลงทุน
แนวรับ 1,763- 1,758- 1,753
แนวต้าน 1,792 – 1,796 – 1,802
ทองคำยังดีดตัวขึ้นได้ไม่มากมีแรงซื้อสลับแรงขายเป็นระยะ ๆ การดีดตัวขึ้นวันวานได้ปัจจัยหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงหลังจากประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่ซบเซา กระตุ้นแรงซื้อได้ระยะสั้น ๆ สิ่งที่น่าจับตาในช่วงปลายสัปดาห์ ได้แก่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ที่จะมีผลกระทบต่อราคาทองคำค่อนข้างมาก

โดย  : บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด(HGF)

ทองคำปรับขึ้นเจเน็ต เยลเลนไม่ได้ชี้นำว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย

คืนนี้สหรัฐจะประกาศจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ทองคำยังมีแนวต้านสำคัญ 1,800 ดอลลาร์

- Advertisement -

  • ราคาทองคำ Spot เมื่อวานปรับขึ้นหลังจากนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐกล่าวให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลว่า เธอไม่ได้คาดการณ์หรือให้คำแนะนำว่าเฟดควรจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยให้ความเคารพในความเป็นองค์กรอิสระของเฟดนอกจากนี้สหรัฐประกาศการจ้างงานภาคเอกชน ADP เดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น742,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าตลาดคาดจะเพิ่มขึ้น872,000 ตำแหน่ง ดัชนีภาคบริการโดย ISM เดือนเม.ย.ลดลงสู่ระดับ 62.7 จากระดับ 63.7 ในเดือนมี.ค.ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์และต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ระดับ 64.3 ทางด้านกองทุน SPDRGold Trust ซื้อทองคำ2.29ตัน
  • คืนนี้สหรัฐจะประกาศจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ตลาดคาดจะอยู่ที่ระดับ 540,000 รายส่วนคืนพรุ่งนี้สหรัฐจะประกาศการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย. ตลาดคาดจะเพิ่มขึ้น990,000 ตำแหน่ง หลังจากที่เดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 916,000 ตำแหน่ง
  • หลังจากที่ราคาทองคำขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญ 1,800 ดอลลาร์2 ครั้งและยังไม่สามารถทะลุผ่านขึ้นไปได้ อาจเกิดสัญญาณทางด้านเทคนิค Double top ได้ ดังนั้นต้องระวังการปรับฐานของราคาทองคำโดยมีแนวรับ 1,770 ดอลลาร์ และ 1,760 ดอลลาร์ ขณะที่มียังมีแนวต้านสำคัญ 1,800 ดอลลาร์ ถ้าทะลุผ่านขึ้นไปได้มีโอกาสปรับขึ้นได้ต่อ  โดยมีแนวต้านถัดไปที่ 1,815ดอลลาร์

ราคาทองตลาดโลก

Closechg.SupportResistance
1,786.11+7.511,770/1,7601,800/1,815

ราคาทองแท่ง 96.5%

Closechg.SupportResistance
26,200-15026,100/26,00026,500/26,700

โกลด์ฟิวเจอร์ส

ClosechgSupportResistance
26,240+1026,270/26,16026,670/26,860

สำหรับนักลงทุนที่ซื้อไว้แนะนำขายทำกำไรที่ราคาทอง Spot1,800 ดอลลาร์ (GF 26,670บาท)

สำหรับการลงทุนในทองแท่ง แนะนำเข้าทยอยสะสมที่ 1,750-1,760 ดอลลาร์

โกลด์ออนไลน์ฟิวเจอร์

ClosechgSupportResistance
1,787.90+6.201,772/1,7621,802/1,817

สำหรับนักลงทุนที่ซื้อไว้แนะนำขายทำกำไรที่ราคาGOM21 1,802ดอลลาร์

ค่าเงิน

ทิศทางเงินบาทในวันนี้คาดแข็งค่า ซึ่งเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆหลังจากสหรัฐประกาศการจ้างงานภาคเอกชน ADP เดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 742,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าตลาดคาดจะเพิ่มขึ้น872,000 ตำแหน่งสำหรับ USD Futures เดือนมิ.ย.2564 คาดจะมีแนวรับที่ 31.10 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้านที่ 31.25บาท/ดอลลาร์

News

ตลาดการเงินต่างประเทศ:ดอลล์อ่อนค่าเล็กน้อยนักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานสหรัฐ

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนที่ผ่านมา (5 พ.ค.) ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวนขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนเม.ย.ของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันพรุ่งนี้

ตลาดโลหะมีค่าต่างประเทศ:ทองปิดบวก $8.3 หลังเยลเลนกลับลำประเด็นดอกเบี้ย

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนที่ผ่านมา (5 พ.ค.) หลังจากนางเจเน็ตเยลเลนรัฐมนตรีคลังสหรัฐได้ออกมาชี้แจงว่าเธอไม่ได้คาดการณ์หรือให้คำแนะนำว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนอกจากนี้สัญญาทองคำยังได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐซึ่งรวมถึงตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในเดือนเม.ย.   สัญญาทองคำตลาดCOMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 8.3 ดอลลาร์หรือ 0.47% ปิดที่ 1,784.3 ดอลลาร์/ออนซ์สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 3.6 เซนต์หรือ 0.14% ปิดที่ 26.522 ดอลลาร์/ออนซ์

ตลาดน้ำมันดิบต่างประเทศ:น้ำมันWTI ปิดลบ 6 เซนต์วิตกโควิดฉุดดีมานด์น้ำมัน

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดขยับลงเล็กน้อยเมื่อคืนที่ผ่านมา (5 พ.ค.) ท่ามกลางภาวะการซื้อขายที่ผันผวนเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้บดบังปัจจัยบวกจากรายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่ลดลงมากกว่าคาดกในสัปดาห์ที่แล้วสัญญาน้ำมันดิบWTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 6 เซนต์หรือ 0.1% ปิดที่ 65.63 ดอลลาร์/บาร์เรลสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 8 เซนต์หรือ 0.1% ปิดที่ 68.96 ดอลลาร์/บาร์เรล

ตลาดหุ้นต่างประเทศ:ดาวโจนส์ปิดบวก 97.31 จุดรับแรงซื้อหุ้นวัฏจักร

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกทำนิวไฮเมื่อคืนที่ผ่านมา (5 พ.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นวัฏจักร (Cyclical Stocks) หรือหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเช่นหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมกลุ่มธนาคารและกลุ่มพลังงานขณะที่ดัชนีNasdaqปิดลบเนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีออกมาอย่างต่อเนื่องดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,230.34  จุดเพิ่มขึ้น 97.31 จุดหรือ +0.29% ดัชนีS&P500 ปิดที่ 4,167.59 จุดเพิ่มขึ้น 2.93 จุดหรือ +0.07% ดัชนีNasdaqปิดที่ 13,582.43 จุดลดลง 51.07 จุดหรือ -0.37%

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

เก็งกำไรระยะสั้นตามกรอบราคา เปิดสถานะซื้อหากสามารถราคาสามารถยืนเหนือ 1,771 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้ให้ทยอยขายทำกำไรหากราคายังไม่ยืนเหนือโซน 1,799ดอลลาร์ต่อออนซ์หากผ่านได้ถือสถานะซื้อต่อ

แนวรับ : 1,771 1,756 1,741  แนวต้าน : 1,799 1,816 1,831

จจัยพื้นฐาน :

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 7.51 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แม้ในระหว่างวันราคาทองคำจะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์จนส่งผลกดดันให้ราคาทองคำร่วงลงไปทดสอบระดับต่ำสุดในระหว่างวันที่ 1,770.25 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นหลังจากการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ส่วนใหญ่ออกมาแย่เกินคาด  อาทิ  การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐจากออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ที่เพิ่มขึ้นเพียง742,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 800,000 ตำแหน่ง  ส่วน ISM เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 62.7 ในเดือนเม.ย. ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 64.3 เช่นกัน  สถานการณ์ดังกล่าวกดดันดัชนีดอลลาร์ให้อ่อนค่าลงสู่ระดับ 91.264 หลังจากแตะระดับสูงสุดที่ 91.436 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 19 เม.ย.จนเป็นปัจจัยหลักที่อยู่เบื้องหลังการฟื้นตัวของราคาทองคำ  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองเพิ่ม +1.13 ตันสู่ระดับ 1,019.33 ตันหลังจากถือครองทองคงที่ตลอดครึ่งเดือนหลังของเดือนเม.ย.สะท้อนถึงกระแสเงินทุนไหลออกที่ชะลอตัว  สลับกับเริ่มมีกระแสเงินทุนไหลเข้าสู่กองทุน ETF ทองคำเป็นระยะซึ่งถือเป็นสัญญาณเชิงบวกที่เริ่มเกิดขึ้น  สำหรับวันนี้ติดตามผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ(บีโออี)คาดคงดอกเบี้ยตามเดิม  พร้อมกับติดตามการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ  อาทิ  จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ประสิทธิภาพการผลิตต่อหน่วยเบื้องต้น และประสิทธิภาพต้นทุนแรงงานต่อหน่วยเบื้องต้น

ปัจจัยทางเทคนิค :

ราคาทองคำปรับตัวลงมาพอเข้าใกล้โซนแนวรับ 1,771 ดอลลาร์ต่อออนซ์ มีแรงดีดกลับสั้นๆ เบื้องต้นราคามีการเคลื่อนไหวแกว่งตัวในกรอบอาจต้องระวังแรงขายกลับลงมาอีกครั้งหากราคายังไม่มีแรงซื้อมากพอหรือมีปัจจัยใหม่มาดันราคาขึ้น โดยประเมินแนวต้านที่ 1,799 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน :

การเข้าซื้อยังคงเน้นการเก็งกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว โดยเข้าซื้อเมื่อราคาปรับตัวลงมาในบริเวณแนวรับ 1,771 ดอลลาร์ต่อออนซ์(ตัดขาดทุน 1,771 ดอลลาร์ต่อออนซ์) ขณะที่การขายทำกำไรอาจพิจารณาในโซน 1,799 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ฝรั่งเศสเตรียมยุติคำสั่งสวมหน้ากากอนามัยหากแผนฉีดวัคซีนโควิดคืบหน้าเร็วขึ้น สำนักข่าวซินหัวรายงานการเปิดเผยของสถานีวิทยุ Europe 1 ว่า นายโอลิเวียร์ เวรอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขฝรั่งเศส มีแผนการที่จะยกเลิกคำสั่งสวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่กลางแจ้งในช่วงฤดูร้อนนี้ หากแผนฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของฝรั่งเศสคืบหน้ายิ่งขึ้น  นายเวรองกล่าวว่า “หากมีประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มากพอแล้ว เราอาจจะสามารถผ่อนปรนมาตรการได้”
  • (+) สหรัฐเสนอขอความร่วมมือ G7 เพื่อต้านทานอิทธิพลจีน สื่อต่างประเทศรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า กลุ่มประเทศ G7 กำลังพิจารณาข้อเสนอของสหรัฐเพื่อตอบโต้สิ่งที่ทำเนียบขาวมองว่าเป็นการบีบบังคับทางเศรษฐกิจของจีน  แหล่งข่าวระบุว่า มีเอกสารเผยแพร่ก่อนการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่ม G7 เป็นเวลา 2 วันที่กรุงลอนดอน โดยการประชุมของเจ้าหน้าที่ในวันอังคารนั้นใช้เวลาหารือกัน 90 นาทีเกี่ยวกับการที่จีนพยายามให้ประเทศและบุคคลต่างๆ ทำสิ่งที่ต้องการผ่านโครงการ Belt and Road initiative หรือด้วยการเพิ่มการคุกคามทางเศรษฐกิจ  นักการทูตรายหนึ่งกล่าวว่า สหรัฐต้องการกลไกการหารือที่เกี่ยวข้องกับ G7 รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ เพื่อให้แน่ใจในความร่วมมือตอบโต้ความเคลื่อนไหวของจีนและเพื่อส่งเสริมความยืดหยุ่นของกลุ่มประเทศ G7
  • (+) ISM เผยดัชนีภาคบริการสหรัฐชะลอตัวในเดือนเม.ย. สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 62.7 ในเดือนเม.ย. จากระดับ 63.7 ในเดือนมี.ค.ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 64.3
  • (+) ADP เผยจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐพุ่ง 742,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย.  ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐพุ่งขึ้น 742,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 800,000 ตำแหน่ง
  • (+) CDC เตือนผู้ติดเชื้อโควิดในสหรัฐพุ่ง 2 เดือน เหตุสายพันธุ์อังกฤษระบาด  ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ (CDC) ออกรายงานระบุว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐมีแนวโน้มพุ่งขึ้นอีกในช่วงนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7)  ทั้งนี้ CDC ระบุว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะพุ่งขึ้นตั้งแต่เดือนนี้ ก่อนที่จะลดลงในเดือนก.ค.  รายงานระบุว่า การที่หลายรัฐได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ รวมทั้งการระบาดของไวรัสสายพันธุ์อังกฤษ จะทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น
  • (+) ดอลล์อ่อนค่าเล็กน้อย นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานสหรัฐ ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (5 พ.ค.) ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนเม.ย.ของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันพรุ่งนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 109.25 เยน จากระดับ 109.30 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9135 ฟรังก์ จากระดับ 0.9136 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2278 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2310 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1999 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2010 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3906 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3889 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7744 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7704 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) ดัชนี PMI ภาคบริการสหรัฐพุ่งเป็นประวัติการณ์ในเดือนเม.ย. ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐ พุ่งขึ้นสู่ระดับ 64.7 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในปี 2552
  • (-) คาดศุกร์นี้สหรัฐรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่ง 1,000,000 ตำแหน่ง  นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ในวันศุกร์นี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้นแตะระดับ 1,000,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ขณะที่อัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 5.8%
  • (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 97.31 จุด รับแรงซื้อหุ้นวัฏจักร  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกทำนิวไฮเมื่อคืนนี้ (5 พ.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นวัฏจักร (Cyclical Stocks) หรือหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เช่นหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มธนาคาร และกลุ่มพลังงาน ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดลบเนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีออกมาอย่างต่อเนื่อง  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,230.34 จุด เพิ่มขึ้น 97.31 จุด หรือ +0.29% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,167.59 จุด เพิ่มขึ้น 2.93 จุด หรือ +0.07% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,582.43 จุด ลดลง 51.07 จุด หรือ -0.37%

โดย : บริษัท ซินเนอร์จี้ คอมโมดิตี้ส์ เทรด จํากัด

คำแนะนำ :  ทองพยายามฟื้นตัวแต่ยังขาดข่าวหนุน เริ่มดูไม่ดี คืนนี้รอดูนโยบายการคลังของอังกฤษและตัวเลขสหรัฐฯ แนะลดพอร์ตฝั่งซื้อหรือขายเมื่อดีดตัว

แนวรับ 1770/ 1760|1755   แนวต้าน 1790|1800|1815
                  Gold/silver           USD             Baht        DOW (stock)
ระยะสั้น    SW /SW DOWN     SW UP          SW             SW  
ระยะกลาง   SW DOWN        SW UP             SW          SW UP
ระยะยาว      NEUTRAL       BULLISH      NEUTRAL    BULLISH
คำแนะนำรายวัน SIDEWAYS  1756-1793
จุดเข้า SELL 1785-1799
เป้าหมาย 1755-60
SL 1800
รายสัปดาห์
คำแนะนำรายเดือน 1730-1850
จุดเข้า BUY 1755-65 เป้าหมาย 1815
SL 1749
บทวิเคราะห์ : ทองพยายามฟื้นตัวหลังตกแรงแต่ยังขาดปัจจัยบวกใหม่ๆมาหนุน โดยเมื่อคืนนี้ตัวเลขการจ้างงาน ADP สหรัฐฯประกาศออกมาต่ำกว่าที่คาดแต่ก็ยังสูงกว่าเดือนก่อน ทำให้ราคาทองรีบาวด์เบาๆและเริ่มดูไม่ค่อยดี แถมวันก่อนเทสไม่ผ่าน $1800 ทำให้เสียรังวัดพอตัว ดังนั้นในเร็วๆนี้ถ้าราคาไม่ขึ้นจริงๆก็ระวังการพักฐานใหญ่ และค่าเงินสหรัฐฯกับ US 10 y.BOND YIELD จะกลับมาผงาดอีกรอบ ดังนั้นตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯที่จะทยอยประกาศใน 1-2 วันนี้น่าจะเป็นตัวชี้วัดแนวโน้ม
กลยุทธ์ : เวลาลงแรงแต่ดีดช้าๆแบบนี้ แนะนำลดพอร์ตฝั่งซื้อดีกว่า ไว้ข้าม $ 1800 ค่อยเล่นตามสั้นๆได้  ในมุมมองแนวรับหากราคาหลุด $1760/1770 อาจจะเป็นการพักฐานใหญ่ในเดือนนี้ ดังนั้นในเร็วๆนี้เราจะเห็นแนวโน้มแรงๆจึงแนะนำปรับพอร์ตตามเทรน

โดย : บริษัท อินเตอร์โกลด์ โกลด์เทรด จำกัด

กลยุทธ์ : กระทิงตบหมี
แนวต้าน : 1795 หรือ 26,420 บาท
แนวรับ : 1783 หรือ 26,170 บาท

ราคาทองวันนี้ฟื้นตัวขึ้นหลังจากการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่วนใหญ่ออกมาแย่เกินคาด ได้เเก่ ADP ที่เพิ่มขึ้นเพียง 742,000 ตําแหน่งในเดือนเม.ย. ตํ่ากว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 800,000 ตําแหน่ง และ ดัชนีภาคบริการของสหรัฐฯ ปรับตัวลงสู่ระดับ 62.7 ในเดือนเม.ย. ซึ่งตํ่ากว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 64.3 เช่นกัน สําหรับวันนี้ ติดตามผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษคาดคงดอกเบี้ยตามเดิม พร้อมกับติดตามการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ จํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ด้านเทคนิคคาดว่าทองคำน่าจะปรับตัวขึ้นในคืนวันศุกร์ที่มีการประกาศตัวเลข Nonfarm

ที่มา : gold.in.th ( 6 พ.ค. 64)

- Advertisement -

Leave a Reply