ราคาทองวันนี้ ข่าวทองคำ

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 2 มิ.ย.64 by YLG, HGF, Gcap, SCT, GT

716

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

แนะนำซื้อขายทำกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว หากราคาสามารถยืนเหนือแนวรับโซน 1,886 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้ให้เปิดสถานะซื้อ และขายทำกำไรหากไม่ผ่านแนวต้านบริเวณ 1,917-1,929 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,886 1,872 1,859  แนวต้าน : 1,917 1,927 1,943

จจัยพื้นฐาน :

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 6.39  ดอลลาร์ต่อออนซ์  หลังจากในระหว่างวันราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นทดสอบระดับสูงสุดในรอบเกือบ 5 เดือนบริเวณ  1,916.44 ดอลลาร์ต่อออนซ์โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำอ่อนตัวลงในเวลาต่อมา  โดยได้รับแรงกดดันจากแรงขายทำกำไรและแรงขายทางเทคนิคหลังเกิดสัญญาณบ่งชี้ว่าแรงซื้อในตลาดทองคำเริ่มชะลอตัวลง  นอกจากนี้ ราคาทองคำยังได้รับแรงกดดันเพิ่มเนื่องจากตัวเลขในภาคการผลิตของสหรัฐที่ออกมาดีเกินคาด  ทั้งดัชนี PMI  ภาคการผลิตของสหรัฐจากมาร์กิตที่ปรับตัวขึ้นเกินคาดสู่ระดับ 62.1 ในเดือนพ.ค. ส่วน ISM  เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐอยู่ที่ระดับ 61.2 ในเดือนพ.ค. ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 60.8 เช่นกัน  ส่งผลให้ราคาทองคำร่วงลงแตะระดับต่ำสุดบริเวณ 1,892.37  ดอลลาร์ต่อออนซ์  ก่อนที่ราคาทองคำจะฟื้นตัวขึ้นจากแรงซื้อ Buy the dip  ประกอบกับการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นไปอย่างจำกัด  เนื่องจากรายงานของ ISM ระบุว่า  ภาคการผลิตยังเชิญกับปัญหาการขาดแคลนวัตถุพื้นฐานที่สำคัญ ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น อุปสรรคในการขนส่งสินค้า และการขาดแคนคนงาน  ที่ยังคงจำกัดศักยภาพในการเติบโตของภาคการผลิตซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐในอนาคต  สิ่งนี้ช่วยตอกย้ำจุดยืนในเชิงผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนให้ราคาฟื้นตัวขึ้นมาปิดตลาดใกล้ 1,900 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ในที่สุด  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองเพิ่ม +2.62 ตัน  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยBeige Book  รวมถึงถ้อยแถลงของนาย Raphael Bosticประธานเฟดแอตแลนตา  และนายCharles Evans ประธานเฟดชิคาโก

ปัจจัยทางเทคนิค :

แม้วันก่อนหน้าราคาทองคำมีการปรับตัวลดลง แต่ระยะสั้นหากพยายามจะดีดตัวขึ้นไปทดสอบระดับ 1,917 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่สามารถยืนได้ ราคาอาจอ่อนตัวลงอีกครั้ง  แต่หากยืนเหนือแนวรับโซน 1,886 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้อย่างมั่นคง จะเกิดแรงซื้อดันให้ราคาปรับตัวขึ้นประเมินแนวต้านบริเวณ 1,917-1,929 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน :

เน้นทำกำไรระยะสั้นโดยเปิดสถานะซื้อ หากราคาสามารยืนเหนือแนวรับ 1,886 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยตัดขาดทุนหากหลุดโซนดังกล่าว สำหรับการปิดสถานะซื้อเพื่อทำกำไรอาจพิจารดูบริเวณ 1,917 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากยืนได้ให้ชะลอการขายทำกำไรที่แนวต้านถัดไป 1,929 ดอลลาร์ต่อออนซ์

  • (+) ดัชนี PMI ภาคการผลิตยุโรปเดือนพ.ค.ดีดตัวแรง แม้ต้นทุนวัตถุดิบพุ่งทำนิวไฮ  ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนพ.ค. ทะยานขึ้นสู่ระดับ 63.1 จากระดับ 62.9 ของเดือนเม.ย. ซึ่งดีกว่าตัวเลขคาดการณ์เบื้องต้นก่อนหน้านี้ที่ระดับ 62.8 และเป็นตัวเลขสูงที่สุดเท่าที่เคยมีการรายงานมา นับตั้งแต่ที่มาร์กิตเริ่มจัดทำดัชนีเมื่อเดือนมิ.ย. 2540
  • (+) ดัชนี PMI ภาคการผลิตฝรั่งเศสเดือนพ.ค.พุ่งทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 20 ปี  ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นแตะระดับ 59.4 ในเดือนพ.ค. จากเดิม 58.9 ในเดือนเม.ย. ทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2543
  • (+) ดอลล์อ่อนค่าเล็กน้อย นักลงทุนจับตาข้อมูลแรงงานสหรัฐ  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (1 มิ.ย.) หลังจากนักลงทุนซึมซับข้อมูลภาคการผลิตของสหรัฐ ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาข้อมูลแรงงานของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.01% แตะที่ 89.8295 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 109.42 เยน จากระดับ 109.49 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8966 ฟรังก์ จากระดับ 0.8988 ฟรังก์ แต่เมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.2058 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2050 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2228 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2227 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.4160 ดอลลาร์ จากระดับ 1.4202 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งขึ้นสู่ระดับ 0.7763 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7737 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) ISM เผยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐเพิ่มขึ้นในเดือนพ.ค. รับยอดคำสั่งซื้อใหม่โตต่อเนื่อง  สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐอยู่ที่ระดับ 61.2 ในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นจากเดือนเม.ย. ที่ระดับ 60.7  ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะขยายตัว
  • (-) ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐพุ่งนิวไฮในเดือนพ.ค.  ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 62.1 ในเดือนพ.ค. จากระดับ 60.5 ในเดือนเม.ย. และยังมากกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ 61.5 ด้วย  ดัชนี PMI ดีดตัวขึ้นในเดือนพ.ค. แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในเดือนพ.ค.2550 และดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะขยายตัวของภาคการผลิตของสหรัฐ
  • (-) อนามัยโลกไฟเขียววัคซีนโควิดของซิโนแวกเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินแล้ว  องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยแถลงการณ์ในวันนี้ (1 มิ.ย.) ระบุว่า WHO ได้อนุมัติใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ผลิตโดยบริษัทซิโนแวก ไบโอเทคของจีนในกรณีฉุกเฉินแล้ว ซึ่งนับเป็นวัคซีนโควิดตัวที่ 2 ของจีนที่ได้รับการรับรองจาก WHO ต่อจากวัคซีนโควิดของซิโนฟาร์ม
  • (+/-) ดาวโจนส์ปิดบวก 45.86 จุด รับความหวังเศรษฐกิจฟื้นตัว  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (1 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มการเงิน ซึ่งเป็นหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ภาวะการซื้อขายค่อนข้างผันผวน ขณะที่ดัชนี S&P500 และดัชนี Nasdaq ปิดในแดนลบ เนื่องจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพและกลุ่มเทคโนโลยีเป็นปัจจัยฉุดตลาด  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,575.31 จุด เพิ่มขึ้น 45.86 จุด หรือ +0.13% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,202.04 จุด ลดลง 2.07 จุด หรือ -0.05% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,736.48 จุด ลดลง 12.26 จุด หรือ -0.09%
  • (+/-) โอเปกพลัสตกลงผลิตน้ำมันป้อนตลาดโลกเพิ่ม 2.1 ล้านบาร์เรลต่อวันจนถึงก.ค.สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัสได้ตกลงกันในวันนี้ที่จะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันอย่างค่อยเป็นค่อยไปท่ามกลางการดีดตัวขึ้นของราคาน้ำมัน  กลุ่มโอเปกพลัสจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันในเดือนก.ค.นี้ ซึ่งเป็นไปตามการตัดสินใจในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาของโอเปกที่จะกลับไปผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรลต่อวันเข้าสู่ตลาดระหว่างเดือนพ.ค.-ก.ค.

โดย  : บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด(HGF)

ทองคำลดลง จากข้อมูลภาคการผลิตสหรัฐแข็งแกร่ง

คืนนี้ติดตามการเปิดเผยรายงานBeige Book ของเฟด

ราคาทองคำคาดเคลื่อนไหวในกรอบ  1,880-1,910 ดอลลาร์

  • ราคาทองคำ Spot เมื่อวานปรับลดลง เนื่องจากนักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยหลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลภาคการผลิตที่แข็งแกร่ง โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนพ.ค.โดย ISMเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 62.1 จากระดับ 60.5 ในเดือนเม.ย. ซึ่งดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนพ.ค.เป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลในเดือนพ.ค.2550 โดยได้แรงหนุนจากยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดเป็นประวัติการณ์อย่างไรก็ดีการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ยังเป็นปัจจัยหนุนต่อราคาทองคำ ทางด้านกองทุน SPDRGold Trust ซื้อทองคำ2.62 ตันเมื่อวาน
  • คืนนี้ติดตามการเปิดเผยรายงานBeige Bookซึ่งเป็นรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจของเฟด12 เขตในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้เฟดจะนำข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 15-16 มิ.ย. ทั้งนี้ถ้ารายงานBeige Bookระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวและฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อาจกระทบต่อทิศทางราคาทองคำ
  • แนวโน้มราคาทองคำคาดเคลื่อนไหวในกรอบ 1,880-1,910 ดอลลาร์ ทั้งนี้ทองคำมีแนวต้าน 1,910 ดอลลาร์และแนวต้านถัดไป 1,920 ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวรับ 1,890 ดอลลาร์ และ 1,880 ดอลลาร์

ราคาทองตลาดโลก

Closechg.SupportResistance
1,899.40-6.391,890/1,8801,910/1,920

ราคาทองแท่ง 96.5%

Closechg.SupportResistance
28,100-5027,850/27,75028,100/28,250

โกลด์ฟิวเจอร์ส

ClosechgSupportResistance
28,160-9028,000/27,88028,250/28,400

สำหรับนักลงทุนที่ซื้อไว้แนะนำถือต่อไป (Let Profit Run)ส่วนการเข้าซื้อเก็งกำไรแนะนำเมื่อราคาทองคำ Spot ปรับลงมาที่1,880ดอลลาร์ (GF27,880บาท) โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,870ดอลลาร์ (GF 27,750บาท)

โกลด์ออนไลน์ฟิวเจอร์

ClosechgSupportResistance
1,902.00-7.501,892/1,8821,912/1,922

สำหรับนักลงทุนที่ซื้อไว้แนะนำถือต่อไป (Let Profit Run)ส่วนการเข้าซื้อเก็งกำไรแนะนำเมื่อราคาGOM21 ปรับลงมาที่1,882ดอลลาร์โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,872ดอลลาร์

ค่าเงิน

ทิศทางเงินบาทในวันนี้คาดเคลื่อนไหวในกรอบ31.10-31.25 บาท/ดอลลาร์ซึ่งเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆหลังจากนักลงทุนซึมซับข้อมูลภาคการผลิตของสหรัฐ ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาข้อมูลแรงงานของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.สำหรับ USD Futures เดือนมิ.ย.2564 คาดจะมีแนวรับที่ 31.10 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้านที่ 31.25บาท/ดอลลาร์

News

ตลาดการเงินต่างประเทศ:ดอลลาร์อ่อนค่าเล็กน้อยนักลงทุนจับตาข้อมูลแรงงานสหรัฐ

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนที่ผ่านมา (1 มิ.ย.) หลังจากนักลงทุนซึมซับข้อมูลภาคการผลิตของสหรัฐขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาข้อมูลแรงงานของสหรัฐในสัปดาห์นี้ซึ่งรวมถึงตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.    ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงินลดลง 0.01% แตะที่ 89.8295 เมื่อคืนนี้

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนที่ผ่านมา (1 มิ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลภาคการผลิตที่แข็งแกร่งซึ่งทำให้นักลงทุนลดความต้องการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยอย่างไรก็ดีสัญญาทองคำขยับลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเนื่องจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นปัจจัยหนุนตลาดทั้งนี้สัญญาทองคำตลาดCOMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 30 เซนต์หรือ 0.02% ปิดที่ 1,905 ดอลลาร์/ออนซ์สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 8.8 เซนต์หรือ 0.31% ปิดที่ 28.102 ดอลลาร์/ออนซ์

ตลาดน้ำมันดิบต่างประเทศ :น้ำมันWTI ปิดพุ่ง $1.4 รับดีมานด์ฟื้นตัว-ข้อมูลภาคการผลิตสดใส

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 2% เมื่อคืนที่ผ่านมา (1 มิ.ย.) หลังมีรายงานว่าความต้องการใช้น้ำมันในสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงวันหยุดMemorial Day นอกจากนี้ตลาดยังได้แรงหนุนจากข้อมูลภาคการผลิตที่แข็งแกร่งของจีนและสหรัฐรวมทั้งผลการประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตรหรือโอเปกพลัสซึ่งบ่งชี้ว่าที่ประชุมมีมติเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันอย่างค่อยเป็นค่อยไปสัญญาน้ำมันดิบWTI ส่งมอบเดือนก.ค. พุ่งขึ้น 1.40 ดอลลาร์หรือ 2.1% ปิดที่ 67.72 ดอลลาร์/บาร์เรลสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 93 เซนต์หรือ 1.3% ปิดที่ 70.25 ดอลลาร์/บาร์เรล

ตลาดหุ้นต่างประเทศ : ดาวโจนส์ปิดบวก 45.86 จุดรับความหวังเศรษฐกิจฟื้นตัว

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนที่ผ่านมา (1 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มการเงินซึ่งเป็นหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างไรก็ดีภาวะการซื้อขายค่อนข้างผันผวนขณะที่ดัชนีS&P500 และดัชนีNasdaqปิดในแดนลบเนื่องจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพและกลุ่มเทคโนโลยีเป็นปัจจัยฉุดตลาดดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,575.31 จุดเพิ่มขึ้น 45.86 จุดหรือ +0.13% ดัชนีS&P500 ปิดที่ 4,202.04 จุดลดลง 2.07 จุดหรือ -0.05% ดัชนีNasdaqปิดที่ 13,736.48 จุดลดลง 12.26 จุดหรือ -0.09%

โดย : บริษัท จีแคป จำกัด

แนะแนวทางการลงทุน
แนวรับ 1,885- 1,879- 1,874
แนวต้าน 1,911 – 1,916 1,921
ทองคำปิดตลาดลดลง หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลภาคการผลิตที่แข็งแกร่ง ซึ่งทำให้นักลงทุนลดความต้องการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาข้อมูลแรงงานของสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร เพื่อหาสัญญาณการฟื้นตัวนักลงทุนยังสามารถรอซื้อตามกรอบแนวรับได้

แนวโน้มราคาทองคำช่วงเช้า
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้(1 มิ.ย.) หลังจากนักลงทุนซึมซับข้อมูลภาคการผลิตของสหรัฐ ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาข้อมูลแรงงานของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.

มุมมองทองคำภาคเช้า ทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (1 มิ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลภาคการผลิตที่แข็งแกร่ง ซึ่งทำให้นักลงทุนลดความต้องการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย อย่างไรก็ดีสัญญาทองคำขยับลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นปัจจัยหนุนตลาดนักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยหลังจากหน่วยงานไอเอชเอส มาร์กิตเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับ 62.1 ในเดือนพ.ค. จากระดับ 60.5 ในเดือนเม.ย. ทั้งนี้ ดัชนี
PMI เดือนพ.ค.ถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในเดือนพ.ค.2550 โดยได้แรงหนุนจากยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดเป็นประวัติการณ์อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ได้แก่ การจ้างงานนอกภาคการเกษตร ADP จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน ผลผลิตนอกภาคการเกษตร ต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่อหน่วย
ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ ISM การจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงานรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงการทำงาน คำสั่งซื้อสินค้าโรงงาน เป็นต้น

โดย : บริษัท ซินเนอร์จี้ คอมโมดิตี้ส์ เทรด จํากัด

คำแนะนำ : ทองย่อหลังตัวเลขออกมาดี ภาพรวมพักฐานเพื่อรอขึ้นต่อ แนะซื้อสะสมช่วงย่อตัว จับตา 1880
 SCT Gold วันที่ 2/6/2564
แนวรับ 1890|1880|1870   แนวต้าน 1905|1915|1920
              Gold/silver           USD           Baht        DOW (stock)
ระยะสั้น   SW /SW DOWN   SW             SW        SW  
ระยะกลาง  SW UP               SW            SW         SW UP
ระยะยาว NEUTRAL  BULLISH  NEUTRAL BULLISH
คำแนะนำรายวัน SIDEWAY  DOWN  1880-1909
จุดเข้า BUY 1881
เป้าหมาย 1920
SL 1880
รายสัปดาห์
คำแนะนำรายเดือน 1820-1990
จุดเข้า BUY 1870-90 เป้าหมาย 1920/1950
SL 1850
บทวิเคราะห์ : ทองย่อหลังดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯแข็งแกร่ง ภาพรวมทองเข้าโหมดพักฐานสะสมพลังขึ้นรอบใหม่ในลักษณะการแกว่งตัวออกข้างอาจไม่ลงลึกเพราะนักลงทุนยังต้องรอตัวเลขจ้างงาน NFP สหรัฐฯ ที่เป็นดัชนีที่เฟดจะใช้ในการพิจารณาตัดสินใจลดวงเงิน QE ที่จะประชุม FOMC กันในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า หากทั้งสัปดาห์นี้ตัวเลขทุกอย่างออกมาแย่กว่าที่คาด ทองจะขึ้นต่อ ในทางเทคนิคจับตาแนวรับสำคัญ $1880/1870 ที่ควรรับอยู่ และทองจะเป็นบวกขึ้นต่อเมื่อราคายืนเหนือ $1900 ได้แน่ๆ
กลยุทธ์ : ทองย่อแนะเป็นโอกาสให้เก็บนักลงทุนระยะสั้นและกลางทยอยเก็บสะสมเพื่อขายช่วงดีดตัวในเดือนนี้จากท่าทีที่เฟดยังลังเลใจจะปราบเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตามถ้าราคาทองปิดต่ำกว่า $1860 ถือว่าภาพขาขึ้นระยะสั้นจะเสียหายทันที คาดว่าราคาทองเดือนนี้น่าจะพักออกข้างและยังมีลุ้นไปต่อเป้าหมาย $1950  UPในเดือนนี้ / นักเล่นสั้น DAY TRADE ย่อซื้อขึ้นขายเป็นรอบรายวัน / ค่าเงินบาทยังแกว่งออกข้าง

โดย  : บริษัท จีที โกลด์ บูลเลี่ยน จำกัด

Fundamental

  • ที่ประชุม OPEC+เตรียมเพิ่มปริมาณการผลิตในกลุ่ม หลังประเมินความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกสูงขึ้นอีก
  • ภาคการผลิตสหรัฐฯมองเศรษฐกิจในแง่บวก ค่าดัชนี PMI ทั้งจาก Markit และ ISM ต่างปรับตัวสูงขึ้น
  • ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนและประเทศสำคัญในยุโรป ต่างก็ปรับตัวสูงขึ้นได้ดีไม่แพ้กัน สะท้อนถึงการกลับมาเติบโตทางเศรษฐกิจอีกครั้งหลังวิกฤตโควิด
  • ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี
  • แต่ราคาทองคำหล่นจากระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน อย่างไรก็ตาม ยังมีลุ้นให้ยืน 1,900 แล้วขึ้นใหม่อีก

Technical

  • รูปซ้ายดิ่งแรงกว่า 20 เหรียญ แต่การที่ลงมาแตะเส้นแนวโน้มขาขึ้นแล้วดีดขึ้นทันที แสดงว่ามีแรงซื้อหนาแน่นคอยหนุนอยู่
  • รูปขวาเมื่อวาน breakout ขึ้นไปได้ แต่ไม่รอด วันนี้เป็นโอกาสแก้ตัว จึงควรแกว่งอยู่ในช่วง 1,900-1,915ให้ได้ตลอด เพื่อสะสมกำลังรอจังหวะลองขึ้นไปใหม่
  • ทิศทางวันนี้อย่ากลับลงมาใต้ 1,900
  • จับจังหวะเล่นยังไง?ซื้อ ได้ทั้งเล่นรอบและเก็งกำไรstoploss เมื่อหลุด 1,895

Attention

  • Fed เตรียมออกใช้สกุลเงินดิจิตอลของตัวเองเร็ว ๆ นี้
  • รอผล  ไบเดนเรียกคุยแกนนำในสภาคองเกรสทั้งจากพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกัน คาดหาจุดร่วมเรื่องวงเงินอัดฉีดและมาตรการ เพื่อเบิกจ่ายโดยเร็ว
  • 4 มิ.ย.  ยอดจ้างงานในสหรัฐฯจะกลับมาได้ดีแค่ไหน หลังเดือนก่อนเพิ่งทรุดกลับลงมาแบบผิดคาด
  • 4-5 มิ.ย.  เยลเลนเยือนยุโรป เข้าประชุม รมว.คลัง G7

ที่มา : gold.in.th ( 2 มิ.ย.64 )

- Advertisement -

Leave a Reply