บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 5 ม.ค.65 by SCT, GT, HGF, YLG
โดย : บริษัท ซินเนอร์จี้ คอมโมดิตี้ส์ เทรด จํากัด
คำแนะนำ : ทองพักฐานแต่มีรีบาวด์สลับให้ปรับพอร์ต เล่นสั้น รอตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯ
แนวรับ 1800/ 1790 / 1780 แนวต้าน 1815 |1820|1830
Gold/silver USD Baht DOW (stock)
ระยะสั้น SW/SW DOWN Sw UP SW SW UP
ระยะกลาง SW/SW UP SW /SW UP SW SW UP
ระยะยาว BULLISH Neutral WEAK BULLISH
คำแนะนำรายวัน SIDEWAYS 1788-1820
จุดเข้า SELL 1817-23
เป้าหมาย 1780-90
SL 1830รายสัปดาห์
คำแนะนำรายเดือน 1750-1900
จุดเข้า BUY 1765-80 เป้าหมาย 1870-1900
SL 1750
บทวิเคราะห์ : ตัวเลขการผลิตสหรัฐฯออกมาน่าผิดหวังดันราคาทองรีบาวด์สั้นๆก่อนรอตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯคืนนี้และคืนวันศุกร์ ที่มีผลต่อนโยบายการคลังของเฟด ภาพรวมตลาดทองพักฐานระยะสั้น ยังแกว่งตัวลงๆขึ้นๆรอชุดตัวเลขดังกล่าว คำแนะนำปรับพอร์ตให้สมดุล หรือกลับมาเทรดสั้นๆไวๆตามการสวิงของราคา คาดว่าทองน่าจะพักฐานเพื่อขึ้นต่อในระยะกลางและยาว ที่ปัจจัยความไม่แน่นอนและเงินเฟ้อยังปกคลุมตลาด ส่วนการจะพักฐานแรงหรือสั้นแค่ไหนต้องรอดูทรงอีกสักพัก คืนนี้ใประกาศตัวเลขจ้างงาน ADP ที่คาดว่าจะลดลง และตี2 จะมีรายงานการประชุมเฟดมาเปิดเผย คาดว่าจะทำให้ราคาผันผวนไปอีกสักระยะ
โดย : บริษัท จีที โกลด์ บูลเลี่ยน จำกัด
Fundamental
- จีนเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตกลับมาขยายตัวอีกครั้งในเดือน ธ.ค. ที่ 50.9 ซึ่งดีที่สุดในรอบ 6 เดือน
- จีนขยายขอบเขตการทดลองใช้เงินหยวนดิจิตอลไปที่เสินเจิ้น ซูโจว เสียงอัน ซึอาน เฉิงตู เซี่ยงไฮ้ ไหหนาน ฉางชา ชิงเต่า ต้าเหลียน และพื้นที่จัดงานโอลิมปิดฤดูหนาว
- หุ้นใหญ่นำตลาดดันดาวโจนส์พุ่งขึ้นต่อ
Technical
- ราคายังคงแกว่ง sideway up บนแนวเส้น MA แต่โอกาสจะขึ้นไป 1,880 หรือลงมา 1,750 ยังดู 50/50
- ราคากระชากตัวสั้น ๆ หนีเส้น MAแต่ขาดแรงซื้อสนับสนุนให้ไปต่อเป็นขาขึ้นที่แข็งแรง
- ทิศทางวันนี้1,800-1,830
- จับจังหวะเล่นยังไง?trading สั้น ๆ ในกรอบจำกัด แต่ถ้าหลุด 1,800 ให้ follow short
Attention
- รัฐบาลสหรัฐฯจะมีเงินใช้จ่ายไปถึง 18 ก.พ.
- ดอกเบี้ยโลกมีแนวโน้มจะปรับขึ้นเร็วกว่าคาดเพราะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการอัดฉีดสภาพคล่องทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งต้องรอดูความชัดเจนว่ารอบนี้นักลงทุนจะเลือกทองคำหรือเงินคริปโตเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยมากกว่ากัน
โดย : บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด(HGF)
ทองปิดบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแอ
ติดตามการจ้างงานภาคเอกชนทั่วประเทศเดือนธ.ค. ของ ADP
แนวโน้มราคาทองคำ Spot คาดเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways
- ราคาทองคำ Spot พุ่งขึ้นเมื่อคืนที่ผ่านมา จากปัจจัยหนุนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนธ.ค.โดย ISM ซึ่งตัวเลขออกมาระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2564 รวมถึงจำนวนตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครลดลงสู่ระดับ 10.56 ล้านตำแหน่ง ซึ่งน้อยกว่าที่ตลาดคาการณ์ไว้ นอกจากนี้นักลงทุนจับตาสถานการณ์ของไวรัสโควิด-19 หลังจากที่ CDC เผยว่ายอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในวันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมานั้นมีสัดส่วนราว 95.4% ของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมดในสหรัฐ ทางด้านกองทุน SPDR Gold Trust ซื้อทองคำสุทธิ 4.65 ตันจากเมื่อวาน
- คืนนี้สหรัฐจะเปิดเผยการจ้างงานภาคเอกชนทั่วประเทศเดือนธ.ค. ของ ADP ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 405,000 ตำแหน่ง หลังจากที่เพิ่มขึ้น 534,000 ในเดือนพ.ย. และดัชนี PMI ภาคบริการเดือนธ.ค. โดยมาร์กิต ตลาดคาดว่าจะทรงตัวที่ 57.5
- แนวโน้มราคาทองคำ Spot คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 1,790-1,820 ดอลลาร์ โดยมีแนวต้าน 1,820 ดอลลาร์ และ 1,830 ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวรับที่ 1,790 ดอลลาร์ และ 1,780 ดอลลาร์
ราคาทองตลาดโลก
Close | chg. | Support | Resistance |
1,814.0 | +12.9 | 1,790/1,780 | 1,820/1,830 |
ราคาทองแท่ง 96.5%
Close | chg. | Support | Resistance |
28,500 | -200 | 28,350/28,200 | 28,650/28,850 |
โกลด์ฟิวเจอร์ส
Close | chg | Support | Resistance |
28,640 | +60 | 28,420/28,270 | 28,720/28,840 |
แนะนำเข้าซื้อเมื่อราคาทอง Spot ปรับลงมาที่ 1,790 ดอลลาร์ (GF 28,420 บาท) โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,780 ดอลลาร์ (GF 28,270 บาท)
โกลด์ออนไลน์ฟิวเจอร์
Close | chg | Support | Resistance |
1,817.30 | +8.10 | 1,791/1,781 | 1,821/1,831 |
แนะนำเข้าซื้อเมื่อราคา GOH22 ปรับลงมาที่ 1,791 ดอลลาร์ โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,781 ดอลลาร์
ค่าเงิน
ทิศทางค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามตลาดยังไม่มีปัจจัยใหม่ ทั้งนี้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับสายพันธุ์โอมิครอน แม้ว่าจะมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นก็ตาม ในขณะที่แนวโน้มค่าเงินบาทคาดว่าแข็งค่าต่อเนื่อง สำหรับ USD Futures เดือนมี.ค.65 คาดจะมีแนวรับที่ 33.19 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้านที่ 33.48 บาท/ดอลลาร์
News
วิจัยเดนมาร์กชี้โอมิครอนหลบภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเดลตา แต่เสี่ยงป่วยหนักน้อยกว่า
ผลวิจัยที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน, สำนักงานสถิติแห่งเดนมาร์ก และสถาบันเซรุ่มแห่งเดนมาร์ก (SSI) เปิดเผยว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์ได้ดีกว่าสายพันธุ์เดลตา ซึ่งช่วยอธิบายได้ว่าเหตุใดโอมิครอนจึงแพร่กระจายได้ง่ายกว่า งานวิจัยดังกล่าวใช้ตัวอย่างจากประชากรชาวเดนมาร์กเกือบ 12,000 ครัวเรือนในช่วงกลางเดือนธ.ค. โดยคณะผู้วิจัยพบว่า สายพันธุ์โอมิครอนสามารถแพร่กระจายได้ง่ายกว่าเดลตา 2.7-3.7 เท่าในกลุ่มประชากรที่ฉีดวัคซีนแล้ว “ผลวิจัยของเรายืนยันว่า การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของโอมิครอนนั้นมีสาเหตุหลักมาจากความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน มากกว่าที่จะเป็นความสามารถในการแพร่กระจายอย่างแท้จริง” รายงานวิจัยระบุ ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวยังไม่ได้รับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ไทร่า โกรฟ เคราส์ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของ SSI เปิดเผยกับสื่อเดนมาร์กว่า “แม้ว่าไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนจะยังคงสร้างแรงกดดันต่อระบบสาธารณสุขของเรา แต่ข้อมูลทุกอย่างก็บ่งชี้ว่าสายพันธุ์โอมิครอนนั้นรุนแรงน้อยกว่าเดลตา” โดยเธอเปิดเผยว่า ความเสี่ยงที่จะต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากโอมิครอนนั้นน้อยกว่าความเสี่ยงจากเดลตาราว 50% ยิ่งไปกว่านั้น ในบรรดาผู้ติดเชื้อทั้งหมด 93 คนที่รักษาตัวในโรงพยาบาลเมื่อเดือนธ.ค. มีไม่ถึง 5 คนที่ต้องเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยหนัก “นี่อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เราหลุดพ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ได้ และทำให้การระบาดครั้งนี้เป็นระลอกสุดท้าย” เคราส์กล่าว
สหรัฐจับมือ 4 ชาติมหาอำนาจรวมจีน-รัสเซีย ให้คำมั่นร่วมป้องกันสงครามนิวเคลียร์
สหรัฐ รัสเซีย จีน อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งเป็น 5 ประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ได้ออกแถลงการณ์ร่วมกันในวันจันทร์ (3 ม.ค.) โดยยืนยันว่าทุกฝ่ายจะต้องหลีกเลี่ยงสงครามนิวเคลียร์และควรจำกัดบทบาทของอาวุธดังกล่าวไว้เพื่อจุดประสงค์ในการป้องกันและยับยั้งการรุกรานเท่านั้น จีนระบุว่าแถลงการณ์ดังกล่าวเป็นฉบับแรกที่ผู้นำในกลุ่ม 5 ประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ออกแถลงเกี่ยวกับปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ แต่ยังไม่มีความคืบหน้าชัดเจนใด ๆ เกี่ยวกับเป้าหมายของการปลดอาวุธนิวเคลียร์ ท่ามกลางความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐกับจีน แถลงการณ์ระบุว่า “เรายืนยันว่าสงครามนิวเคลียร์นั้นไม่สามารถเอาชนะได้และเราจะไม่มีวันทำสงครามนั้น การใช้นิวเคลียร์อาจมีผลกระทบในวงกว้างตามมา และเรายังยืนยันว่าอาวุธนิวเคลียร์ ควรจะถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกัน ยับยั้งการรุกราน และป้องกันสงคราม”
“โกลด์แมน แซคส์” ชี้จีนมีแนวโน้มควบคุมพรมแดนตลอดทั้งปี 2565
โกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป อิงค์ วาณิชธนกิจรายใหญ่ของสหรัฐออกมาเปิดเผยการคาดการณ์ว่า จีนอาจตัดสินใจบังคับใช้มาตรการควบคุมพรมแดนอย่างเข้มงวดต่อไปสำหรับตลอดทั้งปีนี้ในขณะที่เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวและกิจกรรมทางการเมืองต่าง ๆ ในปี 2565 ทั้งนี้ ทีมนักวิเคราะห์ที่นำโดยนายแอนดริว ทิลตันได้เปิดเผยในวันนี้ รายงานที่ระบุว่าวัคซีนที่บริษัทซิโนแวคของจีนผลิตขึ้นสามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนได้เพียงเล็กน้อยนั้น มีแนวโน้มกดดันให้จีนแก้ไขปัญหาด้วยการยึดกลยุทธ์รักษาจำนวนผู้ติดเชื้อให้เป็นศูนย์ หรือ “Covid Zero” ต่อไป สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า จีนเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่ยังคงยึดมั่นต่อกลยุทธ์ Covid Zero ในขณะที่หลายประเทศเปลี่ยนมาใช้กลยุทธ์อยู่ร่วมกับโควิด-19 โดยการบังคับใช้มาตรการอันเข้มงวดเพื่อสกัดการระบาดเช่นการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวดในเมืองซีอานในปัจจุบันนั้น ได้นำไปสู่ภาวะชะงักงันด้านการผลิตและการเดินทางและชะลอการบริโภค ซึ่งเพิ่มแรงกดดันต่อเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอยู่แล้วจากขาลงของตลาดที่อยู่อาศัย
โดย : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)
คำแนะนำ
เข้าซื้อจังหวะการอ่อนตัวลงของราคาใกล้โซน 1,805-1,798 ดอลลาร์ต่อออนซ์หรือราคาทองคำไม่สามารถยืน 1,831 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ให้แบ่งทองคำออกขายเพื่อทำกำไรบางส่วน แต่หากผ่านได้ให้ชะลอการขายออกไป
แนวรับ : 1,798 1,783 1,767 แนวต้าน : 1,813 1,844 1,859
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวานนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 12.90ดอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ระหว่างวันราคาทองคำจะได้รับแรงกดดันจากดัชนีดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์ที่ 96.462 และอัตราผลตอบแทนรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 สัปดาห์ที่ 1.6858% ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วสุดในการประชุมเดือนมี.ค. ปัจจัยดังกล่าวกดดันให้ราคาทองคำอ่อนตัวลงทำระดับต่ำสุดในระหว่างวันบริเวณ 1,798.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนที่จะเริ่มมีแรงซื้อ Buy the dip เข้ามาพยุงไว้เนื่องจากราคาทองคำอ่อนตัวลงแต่ยกระดับต่ำสุดขึ้น ประกอบกับนักลงทุนบางส่วนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังจากตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทะยานขึ้นทำสถิติใหม่ในหลายประเทศทั่วโลก นำโดยสหรัฐที่รายงานผู้ติดเชื้อ COVID-19 มากกว่า 1 ล้านรายในวันจันทร์ นอกจากนี้ ราคาทองคำยังได้รับแรงหนุนเพิ่มจากการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาแย่เกินคาด ทั้งตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน ที่ลดลงสู่ระดับ 10.6 ล้านตำแหน่งในเดือนพ.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 11.075 ล้านตำแหน่ง ส่วนดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐจาก ISM ปรับตัวลงสู่ระดับ 58.7 ในเดือนธ.ค. แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2021 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 60.1 ส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์ลดช่วงบวกจนเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำให้ทะยานขึ้นจากระดับต่ำสุดสู่ระดับสูงสุดบริเวณ 1,816.57 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองเพิ่ม +4.65 ตันสำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนจาก ADP, ดัชนี PMIภาคการบริการจากมาร์กิต และรายงานการประชุมเฟดประจำเดือนธ.ค.
ปัจจัยทางเทคนิค :
ระหว่างวันหากราคาทองคำไม่หลุด 1,805-1,799 ดอลลาร์ต่อออนซ์ มีโอกาสที่ราคาพยายามทรงตัวรักษาระดับไว้จะทำให้มุมมองเชิงบวกระยะสั้นเพิ่มขึ้น โดยหากยืนเหนือระดับสูงสุดของวันก่อนหน้าได้ การขยับขึ้นจะมีแนวต้านถัดไปที่ 1,831 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากหลุดแนวรับแรก แนวรับถัดไปจะอยู่ที่ 1,783 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธ์การลงทุน :
เข้าซื้อเมื่อราคาทองคำอ่อนตัวลงและสามารถยืนเหนือโซน 1,805-1,798ดอลลาร์ต่อออนซ์อย่างแข็งแกร่ง ตัดขาดทุนหากราคาหลุดแนวรับบริเวณ 1,798 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และแบ่งขายทำกำไรหากราคาทองคำไม่ผ่านแนวต้านบริเวณ 1,831 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากผ่านได้สามารถถือสถานะซื้อต่อ
ข่าวสารประกอบการลงทุน :
- (+) CDC เผยโอมิครอนใกล้ยึดสหรัฐครบ 100%แล้ว ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐเปิดเผยในวันนี้ว่า ณ วันที่ 1 ม.ค. จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในสหรัฐมีสัดส่วนราว 95.4% ของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมดในประเทศ ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตามีสัดส่วนเพียง 4.6% ทั้งนี้ ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นสายพันธุ์หลักในสหรัฐ โดยสามารถแทนที่สายพันธุ์เดลตา หลังจากที่เริ่มมีการตรวจพบสายพันธุ์ดังกล่าวเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 ธ.ค.2564
- (+) “ไบเดน” เรทติ้งร่วงระนาว โพลล์ชี้สอบตกแก้ปัญหาศก.,รับมือโควิดผลสำรวจของ CNBC/Change Research พบว่า คะแนนความไม่พอใจของชาวอเมริกันต่อการทำงานของประธานาธิบดีโจ ไบเดนพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนธ.ค.2564 โดยมีการมองว่าปธน.ไบเดนประสบความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ ผู้ถูกสำรวจจำนวน 56% ไม่พึงพอใจต่อการทำงานของปธน.ไบเดน ซึ่งเป็นตัวเลขย่ำแย่ที่สุดของปธน.ไบเดนก่อนที่เขาจะครบรอบ 1 ปีแรกของการทำหน้าที่ประธานาธิบดีสหรัฐผลสำรวจก่อนหน้านี้ในเดือนเม.ย.และก.ย.ปีที่แล้ว แสดงจำนวนผู้ที่ไม่พึงพอใจอยู่ที่ระดับ 49% และ 54% ตามลำดับ ขณะเดียวกัน ผลสำรวจล่าสุดระบุว่า ผู้ที่พึงพอใจต่อการทำงานของปธน.ไบเดนมีจำนวน 44% ลดลงจากผลสำรวจในเดือนเม.ย.และก.ย.ปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ระดับ 51% และ 46% ตามลำดับ
- (+) ด่วน! ฝรั่งเศสพบไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ กลายพันธุ์มากกว่าโอมิครอนสถาบัน Mediterranee Infection University Hospital Institute หรือ IHU ออกแถลงการณ์ระบุว่า มีการตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ซึ่งมีจำนวนตำแหน่งการกลายพันธุ์มากกว่าสายพันธุ์โอมิครอน สายพันธุ์ดังกล่าวมีชื่อว่า B.1.640.2 หรือ IHU โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่พบผู้ติดเชื้อดังกล่าวจำนวน 12 ราย ซึ่งผู้ติดเชื้อบางรายมีประวัติเดินทางกลับจากประเทศแคเมอรูน ทั้งนี้ ไวรัสสายพันธุ์ IHU มีการกลายพันธุ์จำนวน 46 ตำแหน่ง ซึ่งมากกว่าสายพันธุ์โอมิครอน และอาจทำให้สายพันธุ์ IHU แพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่าโอมิครอน รวมทั้งสามารถต้านทานวัคซีนได้มากกว่าสายพันธุ์อื่น
- (+) สหรัฐเผยตัวเลขเปิดรับสมัครงานลดลง ขณะตัวเลขลาออกจากงานพุ่งเป็นประวัติการณ์สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน ลดลง 529,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 10.6 ล้านตำแหน่งในเดือนพ.ย. ต่ำกว่าที่นักิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 11.075 ล้านตำแหน่ง
- (+) ISM เผยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐต่ำกว่าคาดในเดือนธ.ค.สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 58.7 ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2564 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 60.1 จากระดับ 61.1 ในเดือนพ.ย.
- (-) ดอลล์แข็งค่า รับคาดการณ์เฟดขึ้นดอกเบี้ยเดือนมี.ค.ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (4 ม.ค.) โดยได้ปัจจัยบวกจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือนมี.ค. อย่างไรก็ดี ดอลลาร์แข็งค่าเพียงเล็กน้อยเนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐได้สกัดแรงบวกของดอลลาร์ในระหว่างวัน ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.06% แตะที่ 96.2007 เมื่อคืนนี้ ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 116.11 เยน จากระดับ 115.29 เยน แต่ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9162 ฟรังก์ จากระดับ 0.9181 ฟรังก์ และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2705 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2747 ดอลลาร์แคนาดา ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1289 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1297 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3535 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3483 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7241 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7190 ดอลลาร์สหรัฐ
- (-) ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 214.59 จุดทำนิวไฮ รับความหวังศก.ฟื้นตัวแม้โควิดยังระบาดดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นทำนิวไฮติดต่อกันวันที่ 2 ในวันอังคาร (4 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเดินหน้าซื้อหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจ เช่นหุ้นกลุ่มสายการบินและกลุ่มอุตสาหกรรม ขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารพุ่งขึ้นตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ส่วนหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นหลังจากราคาน้ำมัน WTI พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 36,799.65 จุด เพิ่มขึ้น 214.59 จุด หรือ +0.59%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,793.54 จุด ลดลง 3.02 จุด หรือ -0.06% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,622.72 จุด ลดลง 210.08 จุด หรือ -1.33%
ที่มา : gold.in.th ( 5 ม.ค. 64 )
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.