ราคาทองวันนี้ ข่าวทองคำ

วิเคราะห์ราคาทองคำ 30 เม.ย.64 by SCT, YLG, HGF, GT

515

- Advertisement -

โดย : บริษัท ซินเนอร์จี้ คอมโมดิตี้ส์ เทรด จํากัด

คำแนะนำ : GDP ออกมาแกร่งแต่น้อยกว่าคาด พาทองร่วง จับตายืน 1760 ได้ยังมีลุ้นฟื้น คืนนี้รอดูตัวเลขสหรัฐฯกันต่อ

แนวรับ 1770/ 1760|1750   แนวต้าน 1780|1790|1795
               Gold/silver                 USD           Baht        DOW (stock)
ระยะสั้น      SW                          SW             SW               SW
ระยะกลาง  SW UP            SW DOWN         SW             SW UP
ระยะยาว   NEUTRAL            BULLISH    NEUTRAL    BULLISH
คำแนะนำรายวัน SIDEWAYS  1758-1790
จุดเข้า buy 1760
เป้าหมาย 1800-1815
SL 1750
รายสัปดาห์
คำแนะนำรายเดือน 1675-1800
จุดเข้า BUY 1755-65 เป้าหมาย 1815
SL 1749
บทวิเคราะห์ : เมื่อคืนนี้ตัวเลข GDP สหรัฐฯขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แม้ว่าจะน้อยกว่าที่คาดการณ์ ฉุดทองที่วิ่งขึ้นจากข่าวเฟดตอนเช้าร่วงแรงลงไปทดสอบ $1760 ภาพรวมทองเริ่มออกอาการไม่ดี หากยืน LOW $1760 ไม่ได้จริงๆน่าจะพักแรงไปแนวรับแถว $1750/1725 ถัดไป ขาซื้อจะลุ้นขึ้นต่อจะต้องผ่าน $1780 ให้ได้ ค่าเงินบาทก็ไม่เป็นใจแข็งค่าหนักมา 31 บาทตามหุ้นที่บวก ส่วนค่าเงินสหรัฐฯเริ่มฟื้นตัวพร้อม BOND YIELD กลับมาระดับสูงท้าทายเฟดอีกวาระ สรุปได้ว่าทองต้องมาลุ้นตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯคืนนี้ต่อ คาดว่าต้องเสียเวลาตั้งฐานใหม่จะนานหรือไปต่ออยู่ที่ต้องยืน $1760 ให้ได้โดยเฉพาะการปิดตลาดคืนนี้ซึ่งเป็นราคาปิดประจำเดือนด้วย
กลยุทธ์ : หากราคาหลุดแนวรับดังกล่าว ไม่ต้องรีบไล่ซื้อ เพราะโอกาสลงต่อมีสูง ในทางกลับกันหากทองปิดเหนือ $1773/1780 ก็มีลุ้นค่อยไปไล่ซื้อตอนขึ้นชัวร์ๆดีกว่า นอกจากนี้สัปดาห์หน้าจะมีประกาศตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯซึ่งน่าจะผันผวนหนัก จึงแนะให้ปรับพอร์ตให้สมดุล

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

เก็งกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว หากราคาไม่สามารถทะลุแนวต้านด้านบนโซน 1,783-1,797 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ให้ทยอยขายทำกำไร และปิดสถานะขายหากราคายืนเหนือโซน 1,756-1,741 ดอลลาร์ต่อออนซ์

- Advertisement -

แนวรับ : 1,756 1,741 1,728  แนวต้าน : 1,783 1,797 1,816

จจัยพื้นฐาน :

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 9.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยปรับตัวขึ้นก่อนในช่วงเช้าของตลาดเอเชียแตะระดับสูงสุดบริเวณ 1,789.93 ดอลลาร์ต่อออนซ์ก่อนที่จะเผชิญแรงขายต่อเนื่อง  แม้ว่าจะเกิดการดีดตัวกลับในระหว่างวันหลังจากการเปิดเผยประมาณการครั้งที่ 1 สำหรับ GDP ประจำไตรมาส 1/2021 ของสหรัฐที่ขยายตัว 6.4% ในไตรมาส 1 ซึ่งถือว่าต่ำกว่า Bloomberg Consensus ส่วนตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานก็ลดลงน้อยกว่าคาดสู่ระดับ 553,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว  ซึ่งทำให้ทองคำฟื้นตัวขึ้นไปแตะระดับ 1,781.31 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดีเกิดแรงขายสลับออกมาอย่างหนัก  เนื่องจากโดยรวมแล้วตัวเลขดังกล่าวยังถือว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง  โดย GDP ไตรมาส 1/2021ยังถือว่าขยายตัวสูงเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่ไตรมาส 3/2003  ส่วนตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานก็ถือเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในสหรัฐเมื่อเดือนมี.ค.2020  ปัจจัยดังกล่าวทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐพุ่งแตะระดับสูงสุดที่ 1.686% จนสร้างแรงกดดันต่อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย  ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 9 สัปดาห์เช่นกัน  ประกอบกับตลาดหุ้นสหรัฐทะยานขึ้น โดยเฉพาะดัชนี S&P500 ที่ปิดทำนิวไฮนำโดยแรงซื้อหุ้นเฟซบุ๊กหลังเปิดเผยผลประกอบการที่ดีเกินคาดจนสร้างแรงกดดันให้แก่ราคาทองคำเพิ่มเติม  ส่งผลให้ราคาทองคำร่วงลงอย่างหนักจนแตะระดับต่ำสุดในระหว่างวันบริเวณ 1,756.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง  -4.66 ตัน  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนี Core PCE, การใช้จ่ายและรายได้ส่วนบุคคล และดัชนี PMI เขตชิคาโก

ปัจจัยทางเทคนิค :

เมื่อราคาปรับตัวขึ้นอาจมีแรงขายทำกำไรสลับออกมาเพิ่มขึ้น ระยะสั้นราคาทองคำยังมีลุ้นดีดขึ้นทดสอบแนวต้าน แต่หากราคาทองคำไม่สามารถผ่านแนวต้านที่ 1,783-1,797 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้จะทำให้เกิดแรงขายทำกำไรออกมาสลับออกมาและอาจทำให้ราคาปรับตัวลงทดสอบแนวรับที่ 1,756-1,741 ดอลลาร์ต่อออนซ์เพื่อสร้างฐานราคา

กลยุทธ์การลงทุน :

เน้นการซื้อขายระยะสั้น โดยเสี่ยงขายหากราคาไม่สามารถผ่านโซน 1,783-1,797 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนสถานะขายหากราคาผ่าน 1,797 ดอลลาร์ต่อออนซ์) ทั้งนี้อาจทยอยเข้าซื้อคืนหากราคาอ่อนตัวลงไม่หลุดแนวรับ 1,756-1,741 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) เยอรมนีเผยเงินเฟ้อพุ่ง 2.1% ในเดือนเม.ย. สูงกว่าเป้าหมายของ ECB  สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 2.1% ในเดือนเม.ย. จากระดับ 2.0% ในเดือนมี.ค.  นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนี CPI ดีดตัว 2.0% ในเดือนเม.ย.
  • (+) สหรัฐเผยดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายปรับตัวขึ้นในเดือนมี.ค. สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เพิ่มขึ้น 1.9% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบรายเดือน หลังร่วงลงติดต่อกัน 2 เดือน  นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีพุ่งขึ้น 5.4% ในเดือนมี.ค.
  • (+) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานปรับตัวลงในสัปดาห์ที่แล้ว  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 13,000 ราย สู่ระดับ 553,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐเมื่อเดือนมี.ค.2563  อย่างไรก็ดี ถึงแม้ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ก็ยังคงสูงกว่าระดับ 230,000 ราย ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ
  • (+) สหรัฐเผย GDP Q1/64 พุ่ง 6.4%กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 1/2564 โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 6.4% ในไตรมาส 1 ใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ในช่วง 6.1-6.5% และเป็นตัวเลขการขยายตัวสูงเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่ไตรมาส 3/2546 หลังจากที่เติบโต 4.3% ในไตรมาส 4/2563
  • (+) ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจยูโรโซนพุ่งเกินคาดในเดือนเม.ย.  คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (EU) ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยูโรโซนพุ่งขึ้นแตะระดับ 110.3 ในเดือนเม.ย. จากระดับ 100.9 ในเดือนมี.ค. และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 102.2
  • (-) บอนด์ยีลด์เยอรมนีดีดตัว ขานรับตัวเลขเงินเฟ้อพุ่งเกินคาด  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีพุ่งขึ้นในวันนี้ ขานรับการทะยานขึ้นของตัวเลขเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือนเม.ย.  ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีอายุ 10 ปีดีดตัวขึ้น 0.048% สู่ระดับ -0.181% ในวันนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2563 และเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดภายในวันเดียวนับตั้งแต่กลางเดือนที่แล้ว
  • (-) “นิวยอร์ก” เตรียมเปิดเมืองเต็มที่ 100% วันที่ 1 ก.ค. ครั้งแรกรอบกว่า 1 ปี  นายบิล เดอ บลาซิโอ นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก กล่าวว่า นครนิวยอร์กจะกลับมาเปิดอย่างสมบูรณ์ 100% ในวันที่ 1 ก.ค.  การเปิดเมืองดังกล่าวจะถือเป็นครั้งแรกของนครนิวยอร์กในรอบกว่า 1 ปี โดยร้านอาหาร, ร้านทำผม, สถานที่ออกกำลังกาย และสนามกีฬาจะสามารถรับลูกค้าได้เต็มความจุของสถานที่
  • (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 239.98 จุด รับข้อมูลศก.สดใส-หุ้นเฟซบุ๊กพุ่งแรง  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (29 เม.ย.) ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดทำนิวไฮ หลังหุ้นเฟซบุ๊กทะยานขึ้นกว่า 7% ขานรับผลประกอบการที่ดีเกินคาด และปัจจัยหนุนหุ้นตัวอื่นๆในกลุ่มเทคโนโลยีด้วย  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,060.36 จุด เพิ่มขึ้น 239.98 จุด หรือ +0.71% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,211.47 จุด เพิ่มขึ้น 28.29 จุด หรือ +0.68% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,082.55 จุด เพิ่มขึ้น 31.52 จุด หรือ +0.22%
  • (+/-) ดอลล์อ่อนค่าเล็กน้อย หลังนักลงทุนซึมซับข้อมูลศก.สหรัฐ  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (29 เม.ย.) หลังจากนักลงทุนซึมซับข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ขยับลง 0.01% สู่ระดับ 90.6120 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9087 ฟรังก์ จากระดับ 0.9100 ฟรังก์ และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2281 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2316 ดอลลาร์แคนาดา แต่เมื่อเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 108.88 เยน จากระดับ 108.68 เยน แต่  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2126 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2123 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3950 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3944 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 0.7776 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7793 ดอลลาร์สหรัฐ

โดย  : บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด(HGF)

โจ ไบเดนมีนโยบายใช้จ่ายด้านครอบครัว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์

คืนนี้สหรัฐจะประกาศดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค

ราคาทองคำคาดเคลื่อนไหว Sideways down

  • ราคาทองคำ Spot เมื่อวานช่วงกลางวันปรับขึ้นตอบรับประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้แถลงว่าขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่เฟดจะปรับลดวงเงินสำหรับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)  แม้ว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวแข็งแกร่งมากขึ้นก็ตามแต่มีแรงเทขายจากการแถลงของประธานาธิบดีโจ ไบเดนต่อสภาคองเกรสที่มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะใช้จ่ายด้านครอบครัวและการศึกษาวงเงิน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์    ทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโตอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นเป็น1.655%เนื่องจากสหรัฐประกาศจีดีพีไตรมาส 1 เพิ่มขึ้น  6.4% จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์อยู่ที่ระดับ 553,000 ราย ทางด้านกองทุน SPDRGold Trust ขายทองคำ4.03 ตัน
  • คืนนี้สหรัฐจะประกาศดัชนีราคา PCE พื้นฐานเดือนเม.ย.ตลาดคาดจะเพิ่มขึ้น0.3% หลังจากที่เดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น0.1% ดัชนี PMI เขตชิคาโกเดือนเม.ย.ตลาดคาดจะลดลงสู่ระดับ65.4 จากระดับ 66.3 ในเดือนมี.ค.ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.ของมหาวิทยาลัยมิชิแกนตลาดคาดจะเพิ่มขึ้นเป็น87.3 จากระดับ 86.5 ในเดือนมี.ค.
  • แนวโน้มราคาทองคำ Spotคาดเริ่มเคลื่อนไหว Sideways downโดยมีแนวรับ 1,760 ดอลลาร์ และ 1,750 ดอลลาร์ขณะที่มีแนวต้านสำคัญ 1,780 ดอลลาร์ และแนวต้านสำคัญ 1,800ดอลลาร์

ราคาทองตลาดโลก

Closechg.SupportResistance
1,771.80-9.41,760/1,7501,780/1,800

ราคาทองแท่ง 96.5%

Closechg.SupportResistance
26,300+5026,050/25,85026,250/26,500

โกลด์ฟิวเจอร์ส

ClosechgSupportResistance
26,340-7026,200/25,95026,400/26,670

แนะนำเปิดสถานะซื้อเก็งกำไรเมื่อราคาทอง Spot ปรับลงมาที่ 1,760 ดอลลาร์ (GF 26,200บาท) โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,750 ดอลลาร์(GF 25,950บาท)

สำหรับการลงทุนในทองแท่ง แนะนำเข้าทยอยสะสมที่ 1,750-1,760 ดอลลาร์

โกลด์ออนไลน์ฟิวเจอร์

ClosechgSupportResistance
1,777.10-2.101,762/1,7521,782/1,802

แนะนำเปิดสถานะซื้อเก็งกำไรเมื่อราคาGOM21 ปรับลงมาที่ 1,762ดอลลาร์โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,752 ดอลลาร์

ค่าเงิน

ทิศทางเงินบาทในวันนี้คาดแข็งค่าขึ้นหลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ของโควิด-19 ในประเทศเริ่มลดลง ส่วนเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆหลังจากนักลงทุนซึมซับข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ สำหรับ USD Futures เดือนมิ.ย.2564 คาดจะมีแนวรับที่ 31.10 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้านที่ 31.30บาท/ดอลลาร์

News

ตลาดการเงินต่างประเทศ:ดอลล์อ่อนค่าเล็กน้อยหลังนักลงทุนซึมซับข้อมูลศก.สหรัฐ

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนที่ผ่านมา (29 เม.ย.) หลังจากนักลงทุนซึมซับข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1   ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงินขยับลง 0.01% สู่ระดับ 90.6120 เมื่อคืนนี้

ตลาดโลหะมีค่าต่างประเทศ:ทองปิดลบ 5.6 ดอลล์หลังบอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่ง

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนที่ผ่านมา (29 เม.ย.) โดยได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐนอกจากนี้ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐยังส่งผลให้นักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยสัญญาทองคำตลาดCOMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 5.6 ดอลลาร์หรือ 0.32% ปิดที่ 1,768.3 ดอลลาร์/ออนซ์สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 3.3 เซนต์หรือ 0.13% ปิดที่ 26.085 ดอลลาร์/ออนซ์

ตลาดน้ำมันดิบต่างประเทศ:น้ำมันWTI ปิดพุ่ง $1.15 ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่ง

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เมื่อคืนที่ผ่านมา (29 เม.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งรวมถึงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งช่วยให้นักลงทุนมีความหวังว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะช่วยให้ความต้องการใช้น้ำมันปรับตัวขึ้นด้วย สัญญาน้ำมันดิบWTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 1.15 ดอลลาร์หรือ 1.8% ปิดที่ 65.01 ดอลลาร์/บาร์เรลซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค.2564 สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 1.29 ดอลลาร์หรือ 1.9% ปิดที่ 68.56 ดอลลาร์/บาร์เรล

ตลาดหุ้นต่างประเทศ:ดาวโจนส์ปิดบวก 239.98 จุดรับข้อมูลศก.สดใส-หุ้นเฟซบุ๊กพุ่งแรง

 ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนที่ผ่านมา (29 เม.ย.) ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ขณะที่ดัชนีS&P500 ปิดทำนิวไฮหลังหุ้นเฟซบุ๊กทะยานขึ้นกว่า 7% ขานรับผลประกอบการที่ดีเกินคาดและปัจจัยหนุนหุ้นตัวอื่นๆในกลุ่มเทคโนโลยีด้วยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,060.36 จุดเพิ่มขึ้น 239.98 จุดหรือ +0.71% ดัชนีS&P500 ปิดที่ 4,211.47 จุดเพิ่มขึ้น 28.29 จุดหรือ +0.68% ดัชนีNasdaqปิดที่ 14,082.55 จุดเพิ่มขึ้น 31.52 จุดหรือ +0.22%

โดย  : บริษัท จีที โกลด์ บูลเลี่ยน จำกัด

Fundamental

  • WGC รายงานความต้องการทองคำโลกไตรมาสแรกร่วงแรง -23% yoyลงมาอยู่ที่ 815.7 ตัน เฉพาะความต้องการลงทุนทองคำ -70% yoyเพราะ ETF เทขาย
  • GDP สหรัฐฯq1 บวกแรง 6.4% แต่ยังต่ำกว่าคาด
  • ดัชนี CPI เดือน เม.ย. เผยเงินเฟ้อเยอรมัน +2.1% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือน มี.ค. ที่ +2.0% ซึ่งถือเป็นสัญญาณบวกต่อเศรษฐกิจยุโรปในภาพรวม
  • ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจยูโรโซนเดือนเม.ย. พุ่งขึ้นแตะ 110.3เทียบกับระดับ 100.9เมื่อเดือนมี.ค.

Technical

  • รูปซ้ายทองร่วงรับอุปสงค์ทรุด ราคาดิ่งลงถึงช่วงแนวรับ 1,755-1,765ใต้เส้น MAแล้วดีดขึ้นแรงทันที แต่มีโอกาสจะร่วงหนักถ้าลงมาย้ำแถว 1,755 อีกรอบ
  • รูปขวาเส้น MA ค่อย ๆ ปรับขึ้นทิ้งช่วงห่างจากแนวรับ 1,755 ทำให้ช่วง 1,755-1,765เป็นแนวกันชนให้ยังไม่เป็นขาลง
  • ทิศทางวันนี้sideway กรอบยังกว้างอยู่
  • จับจังหวะเล่นยังไง?ดักจังหวะรอบทำกำไรระยะสั้น โดยซื้อที่ช่วง 1,755-1,765 และขายที่ช่วง 1,790-1,800 แต่ถ้าหลุดจากกรอบนี้ ให้ stop loss แล้ว follow ทันที

Attention

โควิดทั่วโลกระบาดหนักขึ้น อัตราการติดเชื้อในหลายประเทศกลับพุ่งสูง และมีโอกาสมากขึ้นที่วัคซีนจะใช้ไม่ได้ผลเพราะการกลายพันธุ์มีความหลากหลายและรับมือได้ยากกว่าเดิมมาก

ที่มา : gold.in.th(30 เม.ย. 64)

- Advertisement -

Leave a Reply