ราคาทองวันนี้ ข่าวทองคำ

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 24 มิ.ย.64 by CAF, GT, YLG

496

- Advertisement -

โดย : บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด (CAF)

Reasons ลุ้น GDP สหรัฐฯ

  • จับการการระบาดโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา(อินเดีย) ที่กำลังจะเป็นสายพันธุ์ของโลก
  • ลุ้นการประชุมตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯอย่าง GDP Q1/64 คาดการณ์ขยายตัว 6.4%

Day Trade
GOU21 ไม่เข้าสถานะ
GF10Q21 Hold Short เป้า 26,400-26,500 จุด Stop สิ้นวัน 27,000

Trend Trade ใช้ราคาปิดสิ้นวัน
GOU21 Hold Short จุด Stop 1,782
GF10Q21 Hold Short จุด Stop 27,630 หรือ TP (ATR 27,150)

- Advertisement -

โดย  : บริษัท จีที โกลด์ บูลเลี่ยน จำกัด

Fundamental

  • เยลเลนเตือนสภาต้องโหวตขยายเพดานหนี้สหรัฐฯก่อนสิ้นเดือน ก.ค. ไม่งั้นรัฐบาลจะเริ่มผิดนัดชำระหนี้และก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งมโหฬารตามมา
  • ประธาน Fed สาขาแอตแลนต้า ซึ่งเป็น 1 ใน 11 เสียงโหวตนโยบายการเงิน เห็นว่าต้องรีบลด QEและเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า
  • การที่ Fed ส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าเดิมเพื่อสะท้อนภาวะเงินเฟ้อที่เร่งเร็วขึ้น ทำให้ราคาบ้านในสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น แต่ยอดขายกลับลดลง และมีการขอรีไฟแนนซ์มากขึ้น

Technical

  • รูปซ้ายราคาขึ้นมาแถว 1,795 แล้วทิ้งตัวทันที แสดงว่ามีแรงซื้อ แต่ยังไม่ใช่เวลาที่ดีในการกลับเป็นขาขึ้น
  • รูปขวาราคาทะลุขึ้นเหนือเส้น MA แต่ดิ่งกลับลงมา ภาพรวมยังสร้างฐานรอเลือกทางในช่วง1,755-1,800
  • ทิศทางวันนี้ไร้ทิศทาง
  • จับจังหวะเล่นยังไง?ซื้อสะสมในช่วง1,755-1,765ถ้าหลุดก็ stop loss หรือ หาจังหวะเก็งกำไรฝั่ง short เมื่อขึ้นไปถึงช่วง1,795-1800

Attention

ติดตามผลการเจรจาวงเงินเบิกจ่าย 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ ระหว่างพรรคเดโมแครตกับพรรครีพับลิกัน

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

เข้าซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้นหากราคาทองคำสามารถยืนเหนือบริเวณ 1,772-1,761 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ (ตัดขาดทุนหากหลุด 1,761 ดอลลาร์ต่อออนซ์) และทยอยปิดสถานะทำกำไรหากไม่ผ่านบริเวณแนวต้าน 1,794-1,796 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,761 1,749 1,733  แนวต้าน : 1,796 1,812 1,826

จจัยพื้นฐาน :

ราคาทองคำวานนี้ปิดทรงตัวแทบไม่เปลี่ยนแปลง  แม้ในระหว่างวัน  ราคาทองคำจะขยับขึ้น  โดยได้รับแรงหนุนต่อเนื่องจากถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ที่ระบุว่าเฟดจะไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ย  ส่วนในช่วงบ่ายตามเวลาไทย  ราคาทองคำได้รับแรงหนุนจากการเปิดเผยตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นของเยอรมนีและยูโรโซนที่ออกมาดีเกินคาด  นอกจากนี้  ราคาทองคำยังได้รับแรงหนุนเพิ่มจากแรงซื้อทางเทคนิคหลังจากราคามีการ Breakout กรอบสามเหลี่ยม  ขณะที่ดัชนี PMI ภาคบริการของสหรัฐ  และยอดขายบ้านใหม่ที่ออกมาแย่เกินคาด  เป็นอีกปัจจัยเพิ่มเติมที่ช่วยหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ  1,794.83 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำไม่สามารถรักษาช่วงบวกไว้ได้  โดยเผชิญกับแรงขายทำกำไรเมื่อราคาขยับเข้าใกล้โซนแนวต้านสำคัญ  ประกอบกับดัชนีดอลลาร์ฟื้นตัวขึ้นจากถ้อยแถลงของนายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดสาขาแอนแลนตา  ที่กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัวแข็งแกร่งถึง 7% ในปีนี้ และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะดีดตัวขึ้นเหนือเป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% ซึ่งจากตัวเลขคาดการณ์เหล่านี้ทำให้เขามองว่า เฟดอาจจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปี 2022  สถานการณ์ดังกล่าวกดดันให้ราคาทองคำดิ่งลงจากระดับสูงสุดกว่า 20 ดอลลาร์ต่อออนซ์  จนแตะระดับต่ำสุดในระหว่างวันบริเวณ  1,773.32 ดอลลาร์ต่อออนซ์   ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองลดลง -2.91 ตัน  สำหรับวันนี้ติดตามผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ(บีโออี)  และติดตามการเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งสุดท้ายจีดีพีไตรมาส 1/2021, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน และ  รวมถึงติดตามถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด

ปัจจัยทางเทคนิค :

หากราคาทองคำไม่สามารถ break out ผ่านแนวต้านบริเวณ 1,794-1,796 ดอลลาร์ต่อออนซ์ขึ้นไปได้ อาจมีแรงขายทำกำไรระยะสั้นให้กลับลงมาตั้งฐานราคาด้านล่างอีกครั้ง เบื้องต้นประเมินว่าราคายังคงเคลื่อนไหวระหว่าง 1,761-1,796 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคายืนเหนือแนวรับ 1,772-1,761 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ อาจมีแรงดีดกลับไปทดสอบแนวต้านด้านบนอีกครั้ง

กลยุทธ์การลงทุน :

เปิดสถานะซื้อหากราคาอ่อนตัวลงมาในโซน 1,772-1,761 ดอลลาร์ต่อออนซ์ พร้อมลดการลงทุนหากราคาหลุด 1,761 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้ อาจพิจารณาแบ่งทองคำออกขายทำกำไรบางส่วนหากราคาทองคำไม่ผ่านแนวต้านที่ 1,794-1,796 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) สหรัฐเผยยอดขายบ้านใหม่ต่ำสุดรอบ 1 ปีในเดือนพ.ค.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่ลดลง 5.9% สู่ระดับ 769,000 ยูนิตในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 870,000 ยูนิต ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ยังได้ปรับลดยอดขายบ้านใหม่ในเดือนเม.ย.สู่ระดับ 817,000 ยูนิต จากเดิมรายงานที่ระดับ 863,000 ยูนิต
  • (+) ชาวสหรัฐกว่า 1,200 รายกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์-โมเดอร์นา  เอกสารจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ (CDC) ระบุว่า มีการรายงานผู้ป่วยจำนวนมากกว่า 1,200 รายที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังจากที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา  มีรายงานว่า วัยรุ่นที่มีอายุ 16-24 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาย มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ หลังจากที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา  ทั้งนี้ ผู้ป่วยจำนวน 267 รายมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ หลังจากได้รับการฉีดวัคซีนของไฟเซอร์หรือโมเดอร์นาจำนวน 1 เข็ม และจำนวน 827 รายมีอาการดังกล่าว หลังจากได้รับการฉีดวัคซีน 2 เข็ม นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วย 132 รายที่มีอาการเช่นกัน แต่ไม่มีการระบุว่าได้รับการฉีดวัคซีนกี่เข็ม
  • (-) สื่อตีข่าวจีน-สหรัฐเตรียมจัดการเจรจาทางการทูตในสัปดาห์หน้า  หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทมส์ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดว่า นักการทูตระดับสูงของจีนและสหรัฐมีแนวโน้มจัดการเจรจาในระหว่างการประชุม G20 ในสัปดาห์หน้าที่ประเทศอิตาลี ซึ่งส่งสัญญาณว่ารัฐบาลทั้ง 2 ประเทศกำลังพยายามผ่อนคลายความสัมพันธ์ที่ตึงเครียด  รายงานระบุว่า นายหวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน และนายแอนโทนี บลินเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ อาจร่วมหารือกัน นอกจากนี้ สหรัฐยังได้พยายามสร้างความเป็นไปได้ในการจัดการสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดน และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนด้วยเช่นกัน
  • (-) เตือนไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตากลายเป็นสายพันธุ์หลักในยุโรป  ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งยุโรป (ECDC) แถลงในวันนี้ว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ซึ่งมีการพบครั้งแรกในอินเดีย มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักในยุโรป  รายงานของ ECDC ระบุว่า เนื่องจากไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาสามารถแพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมถึง 40-60% ทำให้มีการคาดการณ์ว่าไวรัสสายพันธุ์เดลตาจะครองสัดส่วนผู้ติดเชื้อรายใหม่มากถึง 70% ในสหภาพยุโรป (EU) และเขตเศรษฐกิจยุโรป (EEA) ภายในต้นเดือนส.ค. และจะสูงถึง 90% ภายในปลายเดือนส.ค.
  • (-) ดอลล์แข็งค่าเล็กน้อย หลังจนท.เฟดคาดเงินเฟ้อสหรัฐพุ่ง  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (23 มิ.ย.) หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คาดการณ์ว่าตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐจะดีดตัวขึ้น ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2564 และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนพ.ค.  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.04% แตะที่ 91.7995 เมื่อคืนนี้ ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 110.96 เยน จากระดับ 110.62 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9183 ฟรังก์ จากระดับ 0.9182 ฟรังก์ แต่เมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2303 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2320 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1928 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1936 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3963 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3941 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7573 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7552 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (+/-) ข้อมูลศก.ซบฉุดดาวโจนส์ปิดลบ 71.34 จุด, Nasdaq ทำนิวไฮรับแรงซื้อหุ้นเทคโนฯ  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (23 มิ.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา ซึ่งรวมถึงยอดขายบ้านใหม่ที่ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq ปิดทำนิวไฮ โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,874.24 จุด ลดลง 71.34 จุด หรือ -0.21% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,241.84 จุด ลดลง 4.60 จุด หรือ -0.11% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,271.73 จุด เพิ่มขึ้น 18.46 จุด หรือ +0.13%
  • (+/-) ดัชนี PMI รวมภาคผลิต-บริการสหรัฐต่ำสุดรอบ 2 เดือนในมิ.ย.  ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 63.9 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน จากระดับ 68.7 ในเดือนพ.ค.

ที่มา :gold.in.th ( 24 มิ.ย.64 )

- Advertisement -

Leave a Reply