ราคาทองวันนี้ ข่าวทองคำ

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 23 ก.พ.65 by HGF, SCT,  GT, TDC, YLG

683

- Advertisement -

โดย  : บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด(HGF)

ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน หนุนทองคำ

คืนนี้สหรัฐไม่มีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจใด ๆ ที่สำคัญ

แนวโน้มราคาทองคำคาดมีทิศทางขาขึ้น

  • ราคาทองคำ Spot  เมื่อวานที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นในระดับสูงสุดบริเวณ 1,914 ดอลลาร์ โดยราคาทองคำยังคงได้รับปัจจัยหนุนมาจากความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่วุฒิสภารัสเซียมีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติให้ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน สามารถใช้กองทัพรัสเซียนอกประเทศได้เพื่อให้การสนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในยูเครน  ทั้งนี้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตรธนาคาร VEB ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ของรัสเซีย และคว่ำบาตรธนาคาร PSB ซึ่งเป็นธนาคารของกองทัพรัสเซีย ทำให้ไม่สามารถทำธุรกรรมในรูปสกุลเงินดอลลาร์ได้ ทางด้านกองทุน SPDR Gold Trust ถือครองทองคำเท่าเดิม
  • คืนนี้สหรัฐไม่มีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจใด ๆ ที่สำคัญ แต่พรุ่งนี้สหรัฐเปิดเผยจีดีพีไตรมาส 4 (ประมาณการครั้งที่ 2) ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 7.0% จากเพิ่มขึ้น 6.9%
  • แนวโน้มราคาทองคำคาดมีทิศทางขาขึ้น โดยราคาทองคำมีแนวรับ 1,890 ดอลลาร์ และแนวรับถัดไปที่ 1,880 ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้าน 1,920 ดอลลาร์ และ 1,930 ดอลลาร์

ราคาทองตลาดโลก

- Advertisement -

Closechg.SupportResistance
1,898.20-5.161,890/1,8801,920/1,930

ราคาทองแท่ง 96.5%

Closechg.SupportResistance
29,150+30028,850/28,75029,300/29,450

โกลด์ฟิวเจอร์ส

ClosechgSupportResistance
29,300+5029,120/29,00029,500/29,640

แนะนำเข้าซื้อราคาทอง Spot ที่ 1,890 ดอลลาร์ (GF 29,120บาท) โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,880 ดอลลาร์ (GF 29,000บาท)

โกลด์ออนไลน์ฟิวเจอร์

ClosechgSupportResistance
1,902.00+0.901,892/1,8821,922/1,932

แนะนำเข้าซื้อราคา GOH22 ที่ 1,892 ดอลลาร์ โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,882 ดอลลาร์

ค่าเงิน

ค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่าเป็นวันที่ 2 หลังจากที่เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องมากสุดรอบ 7 เดือนครึ่ง เนื่องจากมีแรงซื้อสกุลเงินดอลลาร์และเงินเยนในตลาดโลก ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า ทั้งนี้แนวโน้มค่าเงินบาทคาดว่าอ่อนค่าเล็กน้อย สำหรับ USD Futures เดือนมี.ค.65 มีแนวรับที่ 32.20 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้านที่ 32.63 บาท/ดอลลาร์

News

รัสเซียอ้างสิทธิ์ตั้งฐานทัพในแคว้นโดเนตสก์-ลูฮันสก์ หลังการรับรองเอกราช

          สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเนื้อหาบางส่วนในกฤษฎีกาที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียลงนามร่วมกับผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคดอนบาสของยูเครน และเป็นพื้นที่ที่ประชาชนส่วนใหญ่ฝักใฝ่รัสเซีย  ปธน.ปูตินได้ลงนามในกฤษฎีการับรองสถานะการเป็นรัฐอิสระและเอกราชของสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์และลูฮันสก์    เนื้อหาในกฤษฎีการะบุว่า การรับรองสถานะความเป็นอิสระและเอกราชของสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์และลูฮันสก์จะทำให้รัฐบาลรัสเซียมีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะสร้างฐานทัพทหารใน 2 แคว้นแห่งนี้ ขณะที่รัฐบาลของทั้ง 2 แคว้นดังกล่าวก็มีสิทธิ์ที่จะตั้งฐานทัพทหารในดินแดนของรัสเซียเช่นกัน    ขณะเดียวกัน ทั้ง 3 ฝ่ายได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะปกป้องคุ้มครองกันและกัน นอกจากนี้ ยังมีการลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือทางทหาร และการรับรองพื้นที่ชายแดนของกันและกันด้วย    ทั้งนี้ ประเด็นชายแดนถือเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดนกล่าวอ้างว่า แคว้นโดเนตสก์และลูฮันสก์ปัจจุบันอยู่ภายใต้การครอบครองของยูเครน ขณะที่สมาชิกรัฐสภาของรัสเซียและอดีตผู้นำทางการเมืองของแคว้นโดเนสตสก์เปิดเผยกับรอยเตอร์เมื่อเดือนที่แล้วว่า กลุ่มแบ่งแยกดินแดนอาจจะขอร้องให้รัสเซียยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเพื่อที่จะครอบครองดินแดนเหล่านี้    นอกจากนี้ เนื้อหาในกฤษฎีกาซึ่งมีทั้งหมด 31 ข้อยังระบุด้วยว่า รัสเซีย, แคว้นโดเนตสก์และลูฮันสก์จะร่วมมือกันเพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับเศรษฐกิจของกันและกัน โดยทั้ง 2 แคว้นต่างก็เคยเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมซึ่งจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างมากในการบูรณะฟื้นฟู หลังจากได้รับผลกระทบจากสงครามการสู้รบกับกองกำลังทหารของรัฐบาลยูเครนเป็นเวลานานถึง 8 ปี

ผู้ว่าการเฟดชี้เร็วไปที่จะคาดการณ์ระดับดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมี.ค

          สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นางมิเชล โบว์แมน หนึ่งในคณะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยยังเร็วเกินไปที่จะรู้ว่า เฟดจะต้องเริ่มใช้นโยบายการเงินแบบคุมเข้มในการประชุมนโยบายครั้งหน้าในเดือนมี.ค.ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% หรือไม่ โดยระบุว่า ข้อมูลที่จะมีการเปิดเผยออกมาในระยะต่อไปนั้น จะเป็นตัวกำหนดระดับอัตราดอกเบี้ย     “ระหว่างนี้จนถึงเวลานั้น นับเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะต้องจับตาดูว่า เศรษฐกิจจะพัฒนาไปอย่างไร และทำความเข้าใจว่า สิ่งต่าง ๆ จะพัฒนาขึ้นหรือย่ำแย่ลง เมื่อเราจะทำการตัดสินใจกำหนดอัตราดอกเบี้ย” นางโบว์แมนกล่าว หลังจากที่ถูกถามว่า เธอสนับสนุนการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกอย่างมากเพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นหรือไม่    “ณ จุดนี้ ดิฉันคิดว่า ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้” นางโบว์แมนกล่าว

อังกฤษจ่อคว่ำบาตรรัสเซีย เชื่ออาจเปิดฉากบุกโจมตียูเครนเร็ว ๆ นี้

          อังกฤษยืนยันที่จะดำเนินมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย โดยเตือนว่ารัสเซียอาจบุกโจมตียูเครนในอีกไม่ช้า และประณามประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียที่ประกาศรับรองสถานะ 2 ภูมิภาคทางตะวันออกของยูเครน เนื่องจากเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ    สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ได้เสนอความช่วยเหลือด้านการป้องกันประเทศให้แก่ยูเครนในระหว่างการพูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีโวโลดีเมียร์ เซเลนสกีของยูเครน โดยกล่าวว่า ขณะที่ควรหาทางแก้ปัญหาผ่านทางการทูตจนถึงวินาทีสุดท้ายนั้น สถานการณ์กำลังเลวร้ายลง      สำนักนายกรัฐมนตรีอังกฤษเปิดเผยหลังจากการหารือของผู้นำ 2 ชาติว่า “นายจอห์นสันได้บอกกับปธน.เซเลนสกีว่า เขาเชื่อว่าจะมีการบุกโจมตีในไม่กี่ชั่วโมงและไม่กี่วันข้างหน้า”

โดย : บริษัท ซินเนอร์จี้ คอมโมดิตี้ส์ เทรด จํากัด

คำแนะนำ : ทองพักแต่ปิดแดนบวก รอดูท่าทีรัสเชียต่อ ทองยิ่งสูงยิ่งหนาว
     
แนวรับ 1889 / 1882  / 1860 แนวต้าน 1910 |1920|1930
              Gold/silver           USD                       Baht        DOW (stock)
ระยะสั้น     SW                     SW                          SW up         SW 

ระยะกลาง  SW UP               SW                         SW               SW UP
ระยะยาว BULLISH              Neutral              WEAK          BULLISH
คำแนะนำรายวัน SIDEWAYS 1882-1915
จุดเข้า  BUY 1877-85
เป้าหมาย 1915-30
SL 1855รายสัปดาห์
คำแนะนำรายเดือน 1800-1950
จุดเข้า BUY 1860/1880 เป้าหมาย 1930/50
SL 1847   

บทวิเคราะห์ : รัสเชียคุกคืบทยอยกินดินแดนของยูเครน ชาตินาโต้แซงชั่นรัสเชียเป็นการสั่งสอน ทองยังได้ข่าวหนุนแต่เริ่มมีแรงเทขาย ประกอบกับบาทอ่อนค่าตามคาดพาทองไทยทะยานไม่หยุด วันนี้ตลาดทองน่าจะแกว่งสะสมพลังรอท่าทีรัสเชียจะรุกต่ออย่างไร และให้จับตาการเจรจาการฑูตในเร็วๆนี้ คาดสงครามจริงยังไม่เกิด แต่ความตึงเครียดยังอยู่ต่ออีกสักพักใหญ่ก่อนจะเงียบ แบบแก้ปัญหาไม่ได้ ในทางเทคนิคตราบใดทองยืน $1900 ได้มีลุ้นไปต่อ $1930/50 หากราคาพักจับตาแนวรับ $1880/70 ตามลำดับ

โดย : บริษัท จีที โกลด์ บูลเลี่ยน จำกัด

Fundamental

  • สภาให้อำนาจปูตินใช้กำลังทหารนอกเขตประเทศได้ ซึ่งเป็นสัญญาณการผนวกสาธารณรัฐโดเนตสค์และลูฮานสค์เข้ากับรัสเซียในอนาคต และสร้างความกังวลว่ากองทัพรัสเซียสามารถจะบุกยึดยูเครนได้ทุกเมื่อ
  • สหรัฐฯสั่งแบนธุรกรรมกับธนาคารรัสเซีย
  • ยุโรปสั่งแบนคนที่เกี่ยวข้องกับโดเนตสค์และลูฮานสค์

Technical

  • ราคามีแนวโน้มจะถอยลงตามแรงกดดันของสัญญาณ bearish divergence
  • bearish divergenceยังคงซ้อนกันชัดเจน แต่ราคายังยื้อตรง1,900 จึงอาจขึ้นอีกครั้งก่อนจบรอบหรือ ทิ้งตัวหลุด 1,890 ลงมาเลยก็ได้
  • ทิศทางวันนี้เข้าโหมดปรับฐาน
  • จับจังหวะเล่นยังไง?ขึ้นต่อก็ไม่น่าซื้อแล้ว แนะนำให้ followshort เมื่อหลุด 1,890

Attention

  • Fed Fund Rate Futures ล่าสุด65% มองขึ้นดอกเบี้ยเดือน มี.ค. ที่ 0.25% และ 35% มองขึ้นรวดเดียว 0.5%
  • ดอกเบี้ยโลกมีแนวโน้มจะปรับขึ้นเร็วกว่าคาดเพราะสหรัฐฯพร้อมขึ้นดอกเบี้ยปีนี้ 5-7ครั้ง เพื่อกดเงินเฟ้อ
  • รัฐบาลสหรัฐฯจะมีเงินใช้จ่ายไปถึง 11 มี.ค.

โดย : บริษัท ที.ดี.ซี. โกลด์ จำกัด

ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงเล็กน้อยมีทั้งบวกและลบสลับกันไป ถึงแม้ความตึงเครียดระหว่างยูเครนและรัสเซียจะยังคงอยู่ โดยสถานการณ์ล่าสุด นาย Olaf Scholzนายกรัฐมนตรีของเยอรมันกล่าวว่า จะระงับข้อสัญญาของการส่งก๊าซธรรมชาติผ่านท่อNord Stream 2 ซึ่งพึ่งสร้างเสร็จปีที่แล้วมีหน้าที่หลักในการส่งมอบก๊าซจากรัสเซียมายังยุโรปหากรัสเซียยังบุกยูเครน โดยปกติแล้วรัสเซียพึ่งพารายได้จากก๊าซธรรมชาติสูงถึง 40% จึงเป็นสิ่งที่น่าจับตามอง ทั้งนี้สินทรัพย์ทางการเงินยังผันผวนในกรอบ

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ

เก็งกำไรระยะสั้นตามกรอบราคา เปิดสถานะซื้อหากสามารถราคาสามารถยืนเหนือ 1,888-1,878 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้และให้ทยอยขายทำกำไรหากราคายังไม่ยืนเหนือโซน 1,916-1,932 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,878 1,863 1,847  แนวต้าน : 1,916 1,932 1,958

จจัยพื้นฐาน

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 5.16ดอลลาร์ต่อออนซ์โดยราคาทองคำพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 9 เดือนที่ 1,914.08 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงเช้ามืดของวันนี้ตามเวลาไทยท่ามกลางแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยจากความวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดในยูเครน หลังจากประธานาธิบดีปูติน ได้ลงนามรับรองสถานะการเป็นรัฐอิสระของสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ซึ่งเป็น 2 แคว้นกบฎในยูเครนตะวันออก พร้อมกับสั่งการให้กองกำลังทหารรัสเซียเข้าประจำการในพื้นที่ดังกล่าว อย่างไรก็ดี ราคาทองคำเผชิญกับแรงขายทำกำไรในเวลาต่อมา ขณะที่สัญญาณทางเทคนิคบ่งชี้ว่าราคาอยู่ภาวะซื้อมากเกินไปใน TF Daily บวกกับเกิดสัญญาณที่บ่งชี้ว่าโมเมนตัมเชิงบวกอ่อนแรงลงจึงเกิดแรงขายทางเทคนิคเพิมเติม ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมา “ดีเกินคาด” อาทิ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐจากมาร์กิต ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 56.0 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน จากระดับ 51.1 ในเดือนม.ค. และ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐจาก CB ปรับตัวลงสู่ระดับ 110.5 ในเดือนก.พ. แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 110.0ส่งผลให้ราคาทองคำอ่อนตัวลงทดสอบระดับต่ำสุดในระหว่างวันบริเวณ 1,891.59 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่วิกฤตในยูเครนยังคงตึงเครียดต่อเนื่อง ล่าสุดนานาชาติได้ออกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย ขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐได้ยกเลิกการประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียซึ่งวางแผนไว้ในวันพฤหัสบดีนี้ ทำให้มีแรงซื้อ Buy the dip เข้ามาพยุงราคาทองคำเอาไว้ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับวันนี้ไม่มีกำหนดการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ

ปัจจัยทางเทคนิค :

แม้จะมีแรงซื้อให้ราคาดีดตัวขึ้นแต่ยังคงเห็นแรงขายกดดันอย่างต่อเนื่อง หากการดีดตัวของราคายังไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านระดับ 1,914-1,916 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ อาจทำให้เกิดแรงขายกดดันให้ปรับตัวลงสู่ระดับ 1,888-1,878 ดอลลาร์ต่อออนซ์เช่นเดิม เบื้องต้นประเมินการเคลื่อนไหวของราคาในแบบของการแกว่งตัวเพื่อสะสมแรงซื้อหากยืนได้จะเกิดการดีดตัวขึ้นต่อ

กลยุทธ์การลงทุน :

เน้นการเก็งกำไรระยะสั้น โดยเข้าซื้อเมื่อราคาปรับตัวลงมาในบริเวณแนวรับ 1,888-1,878 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุน 1,863 ดอลลาร์ต่อออนซ์) การปิดสถานะซื้อทำกำไรพิจารณาในโซน 1,916-1,932 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากผ่านถือสถานะซื้อต่อ

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) เลขาธิการนาโตยันรัสเซียเตรียมโจมตียูเครนอย่างเต็มรูปแบบนายเยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กล่าวว่า รัสเซียเตรียมการโจมตียูเครนอย่างเต็มรูปแบบ  “สิ่งบ่งชี้ทุกอย่างบอกว่ารัสเซียยังคงเตรียมการโจมตีอย่างเต็มรูปแบบต่อยูเครน และเราขอเรียกร้องให้รัสเซียถอยหลังกลับ โดยยังไม่สายเกินไปที่จะยกเลิกการโจมตียูเครน” นายสโตลเทนเบิร์กกล่าว
  • (+) สภารัสเซียเปิดประตูสงคราม! ไฟเขียว “ปูติน” ส่งกองทัพช่วยกบฏยูเครน  วุฒิสภารัสเซียมีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติให้ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน สามารถใช้กองทัพรัสเซียนอกประเทศได้เพื่อให้การสนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในยูเครน  ทั้งนี้ สมาชิกวุฒิสภาลงมติเห็นชอบด้วยคะแนน 153 เสียง โดยไม่มีเสียงคัดค้านแต่อย่างใด  ก่อนหน้านี้ ปธน.ปูตินยื่นคำร้องต่อวุฒิสภาเพื่อขออนุมัติการใช้กำลังทหารนอกประเทศในการสนับสนุนสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์ (DNR) และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ (LNR) ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคดอนบาสทางตะวันออกของยูเครน ซึ่งกลุ่มกบฎฝักใฝ่รัสเซียยึดครองอยู่ และได้ต่อสู้กับกองทัพยูเครนนับตั้งแต่ปี 2557
  • (+) อังกฤษประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย ตอบโต้ “ปูติน” ส่งทหารยึดดอนบาส นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย หลังประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ให้การรับรองเอกราชแก่แคว้นโดเนตสก์และลูฮันสก์ ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคดอนบาสของยูเครน และส่งกำลังทหารเข้าไปยัง 2 แคว้นดังกล่าวซึ่งฝักใฝ่รัสเซีย  ทั้งนี้ นายจอห์นสันประกาศคว่ำบาตรธนาคารรัสเซีย 5 แห่ง รวมทั้งชาวรัสเซีย 3 คน เพื่อตอบโต้มาตรการทางทหารของรัสเซียดังกล่าว 
  • (+) นายกฯเยอรมนีประกาศระงับอนุมัติท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2นายโอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ประกาศระงับการอนุมัติท่อส่งก๊าซธรรมชาติ Nord Stream 2 ในวันนี้ หลังจากที่รัสเซียให้การรับรองเอกราชแก่แคว้นโดเนตสก์และลูฮันสก์ ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคดอนบาสของยูเครน และส่งกำลังทหารเข้าไปยัง 2 แคว้นดังกล่าวซึ่งฝักใฝ่รัสเซีย  “เยอรมนีไม่สามารถให้การยอมรับ 2 แคว้นดังกล่าว และเราต้องทำการประเมินสถานการณ์ใหม่ โดยเฉพาะเกี่ยวกับท่อส่งก๊าซธรรมชาติ Nord Stream 2” นายโชลซ์กล่าว 
  • (+) ดอลล์อ่อนค่า ซื้อขายผันผวนจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (22 ก.พ.) ท่ามกลางการซื้อขายที่เป็นไปอย่างผันผวน ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน หลังจากรัสเซียให้การรับรองเอกราชแก่แคว้นโดเนตสก์และลูฮันสก์ ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคดอนบาสของยูเครน และได้ส่งกำลังทหารเข้าไปยัง 2 แคว้นดังกล่าวซึ่งฝักใฝ่รัสเซีย  ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.05% แตะที่ 96.0250  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1338 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1325 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3592 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3603 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7221 ดอลลาร์ จากระดับ 0.7195 ดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 115.08 เยน จากระดับ 114.77 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9211 ฟรังก์ จากระดับ 0.9159 ฟรังก์
  • (+) ดาวโจนส์ปิดร่วง 482.57 จุด,S&P500 ปรับฐาน วิตกสงครามยูเครนปะทุดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันอังคาร (22 ก.พ.) ขณะที่ดัชนี S&P500 เข้าสู่ภาวะปรับฐาน (Correction) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน หลังจากรัสเซียให้การรับรองเอกราชแก่แคว้นโดเนตสก์และลูฮันสก์ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของยูเครน และส่งกำลังทหารเข้าไปยัง 2 แคว้นดังกล่าวซึ่งฝักใฝ่รัสเซีย  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,596.61 จุด ลดลง 482.57 จุด หรือ -1.42%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,304.76 จุด ลดลง 44.11 จุด หรือ -1.01% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,381.52 จุด ลดลง 166.55 จุด หรือ -1.23%
  • (-) ดัชนี PMI รวมภาคผลิต-บริการสหรัฐสูงสุดรอบ 2 เดือนในก.พ.ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 56.0 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน จากระดับ 51.1 ในเดือนม.ค.  ทั้งนี้ ดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้น อยู่ที่ 57.5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน จากระดับ 55.5 ในเดือนม.ค.  สำหรับดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้น อยู่ที่ 56.7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน จากระดับ 51.2 ในเดือนม.ค.
  • (-) Conference Board เผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงเดือนที่ 2ผลสำรวจของConference Board ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 2 โดยร่วงลงสู่ระดับ 110.5 ในเดือนก.พ. แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 110.0 จากระดับ 111.1 ในเดือนม.ค.

ที่มา : gold.in.th 23 ก.พ. 65

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.