ราคาทองวันนี้ ข่าวทองคำ

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 29 มิ.ย.64 by MTS, YLG, SCT

522

- Advertisement -

โดย  : บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด (MTS)

ทิศทางราคาทองคำ

ราคาทองคำเคลื่อนตัวกรอบแคบตามที่ได้วิเคราะห์ก่อนหน้า โดยปรับตัวสูงขึ้นบ้างเล็กน้อยมาทรงตัวแถว 1,775 เหรียญ ท่ามกลางตลาดที่รอคอยตัวเลขเศรษฐกิจใหม่ๆที่จะมากระตุ้นตลาด ด้าน SPDR ซื้อทองคำเพิ่ม 2.91 ตัน ปัจจุบันเพิ่มการถือครองมาที่ 1,045.78 ตัน ในส่วนของดัชนีดอลลาร์ดูจะทรงตัวบริเวณ 91.60 จุด เช้านี้อยู่ที่ 91.95 จุด เป็นลักษณะแข็งค่าต่อเนื่อง จึงเป็นผลทำให้ ค่าเงินบาทอ่อนค่าทะลุ 32 บาท/ดอลลาร์ในเช้านี้ ที่ระดับ 32.05 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่วันนี้ไม่มีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญใดๆ

วิเคราะห์ราคาทองคำทางเทคนิค

ทองคำเคลื่อนไหว Sideways ในกรอบ 1,775 – 1,785 เหรียญ เป็นลักษณะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ วันนี้คาดว่าทองคำจะเคลื่อนไหวในทิศทางแบบ Sideways ในกรอบแคบๆเช่นเดิม โดย Gold Online Futures และ Gold Comex จะมีแนวรับที่ 1,765 เหรียญ และแนวต้าน 1,785 เหรียญ สำหรับราคาทองคำไทยคาดจะเปิดปรับขึ้นราว 50 บาท/บาททองคำ

- Advertisement -

โดยย้ำนักลงทุนว่า ราคาจะแตกต่างกันประมาณ 2 – 5 เหรียญ ดังนั้น การวิเคราะห์หรือ Arbitrage จะต้องใช้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

กลยุทธ์การลงทุนในวันนี้

แนะเล่นสั้น Sideways ย้ำเล่นสั้นๆในกรอบเท่านั้น จนกว่าราคาจะมีการ Breakout ของราคา

– นักลงทุนที่ถือ Long Position 

ลงซื้อขึ้นขาย เล่นสั้นๆในกรอบ

– นักลงทุนที่ถือ Short Position

ขึ้นขาย ลงซื้อ เน้นเล่นสั้นๆในวัน ตามการแกว่งตัวของราคา

Gold Futures 10M21 จะมีแนวรับที่ระดับ 26,700 บาท และแนวต้านที่ระดับ 27,100  บาท

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

เข้าซื้อบริเวณ 1,764-1,761 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากหลุดลงมาให้ชะลอการซื้อออกไปเพื่อรอดูการตั้งฐานของราคา ทั้งนี้ สามารถทยอยปิดสถานะซื้อทำกำไร หากราคาดีดตัวขึ้นไม่ผ่านบริเวณแนวต้าน 1,787-1,795 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,761 1,749 1,733  แนวต้าน : 1,795 1,812 1,826

จจัยพื้นฐาน :

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 2.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ระหว่างวันราคาทองคำแกว่งตัวผันผวนในกรอบ 1,785.66-1,770.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ท่ามกลางปัจจัยทั้งบวกและลบที่เข้ามาส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ  โดยรวมแล้วราคาทองคำยังคงได้รับแรงกดดันหลักจากการแข็งค่าของดัชนีดอลลาร์  ทั้งนี้  ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้น +0.08%  โดยได้รับแรงหนุนจากการเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตรัฐเท็กซัสที่ดีดตัวสู่ระดับ 29.4 จุดในเดือนมิ.ย. จากระดับ 15.7 ในเดือนพ.ค. ซึ่งบ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคการผลิตในเท็กซัส นอกจากนี้ดอลลาร์ยังได้รับแรงหนุนเพิ่มจากถ้อยแถลงของนายโธมัส บาร์กิ้น ประธานเฟดริชมอนด์ ที่กล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐ “มีความคืบหน้าอย่างมาก” ในการนำไปสู่เป้าหมายด้านเงินเฟ้อ ซึ่งเพียงพอที่จะให้เฟดเริ่มลดปรับลดวงเงินในโครงการซื้อ​พันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) พร้อมเสริมว่าเขามี “ค่อนข้างมีมุมมองเชิงบวก” เกี่ยวกับตลาดแรงงาน   นั่นทำให้นักลงทุนวิตกว่าหากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่กำลังจะถูกเปิดเผยในวันศุกร์นี้แข็งแกร่งเกินคาด  อาจยิ่งสนับสนุนให้เฟดเร่งถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงิน  สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนยังคงเทขายทองคำสลับออกมาเป็นระยะ  อย่างไรก็ดี  เมื่อราคาทองคำทดสอบกรอบด้านล่างก็มักจะมีแรงซื้อเข้ามาพยุงราคาไว้เช่นกัน  ส่วนหนึ่งราคาทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยได้รับแรงหนุนจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของCOVID-19 สายพันธุ์เดลต้าที่กำลังระบาดอย่างหนักในหลายประเทศทั่วโลก  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำเพิ่ม +2.91 ตัน  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีราคาบ้าน โดย S&P/CS และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จาก CB

ปัจจัยทางเทคนิค :

ราคาทองคำพยายามพยายามทรงตัวเคลื่อนไหวในกรอบ หากรักษาระดับได้ราคามีโอกาสขึ้นไปทดสอบแนวต้านในโซน 1,787-1,795 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แสดงถึงแรงเข้าซื้อในระยะสั้น หากยืนได้แข็งแกร่งมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปทดสอบ แนวต้านถัดไป 1,812ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่แนวรับนั้นอยู่ในบริเวณ 1,764-1,761 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน :

เปิดสถานะซื้อหากราคาอ่อนตัวลงมาในโซน 1,764-1,761ดอลลาร์ต่อออนซ์ พร้อมลดการลงทุนหากราคาหลุด 1,761 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้อาจพิจารณาแบ่งทองคำออกขายทำกำไรบางส่วนหากราคาทองคำไม่ผ่านแนวต้านที่ 1,787-1,795ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 150.57 จุด นลท.ขายหุ้นวัฏจักร เหตุวิตกโควิดฉุดศก.ทรุด ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (28 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มการเงินซึ่งเป็นหุ้นวัฏจักร (Cyclical Stocks) ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq และ S&P500 ปิดทำนิวไฮ โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,283.27 จุด ลดลง 150.57 จุด หรือ -0.44% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,290.61 จุด เพิ่มขึ้น 9.91 จุด หรือ +0.23% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,500.51 จุด เพิ่มขึ้น 140.12 จุด หรือ + 0.98%
  • (+) รมว.สาธารณสุขอังกฤษเรียกร้องยกเลิกล็อกดาวน์โดยเร็วที่สุด นายซาจิด จาวิด รัฐมนตรีสาธารณสุขคนใหม่ของอังกฤษ ประกาศว่า เขาต้องการให้อังกฤษยกเลิกมาตรการคุมเข้มการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งหมดโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  ทั้งนี้ นายจาวิดมีกำหนดแถลงต่อรัฐสภาอังกฤษในวันนี้เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าควรมีการยกเลิกมาตรการเข้มงวดในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในวันที่ 19 ก.ค. ตามที่รัฐบาลเคยเสนอไว้ก่อนหน้านี้หรือไม่
  • (-) นักวิเคราะห์คาดศุกร์นี้สหรัฐเผยตัวเลขจ้างงานเพิ่ม 683,000 ตำแหน่งในมิ.ย.  นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ในวันศุกร์นี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 683,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. สูงกว่าในเดือนพ.ค.ที่เพิ่มขึ้นเพียง 559,000 ตำแหน่ง
  • (-) เฟดดัลลัสเผยดัชนีภาคการผลิตดีดตัวขึ้นในเดือนมิ.ย.  ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาดัลลัส เปิดเผยผลสำรวจระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตรัฐเท็กซัสดีดตัวสู่ระดับ 29.4 จุดในเดือนมิ.ย. จากระดับ 15.7 ในเดือนพ.ค.  ดัชนียังคงมีค่าเป็นบวก ซึ่งบ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคการผลิตในเท็กซัส โดยดัชนีภาคการผลิตส่งสัญญาณขยายตัวนับตั้งแต่เดือนส.ค.ปีที่แล้ว หลังจากทรุดตัวลงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนเม.ย.ปีที่แล้ว โดยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงานต่างดีดตัวขึ้นในเดือนมิ.ย.  นอกจากนี้ ผลสำรวจระบุว่า ภาคการผลิตยังคงมีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มธุรกิจในอนาคต
  • (-) งานวิจัยพบ ฉีดวัคซีนแอสตราเซนเกาผสมกับวัคซีนไฟเซอร์ กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี งานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด พบว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 ของแอสตราเซนากาแล้ว ตามด้วยวัคซีนของไฟเซอร์หลังรอ 4 สัปดาห์ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้รับยาได้ดีกว่าการรับวัคซีนตัวเดียวกันเป็นเข็มที่ 2  สำนักข่าว รอยเตอร์ รายงานว่า ผลการวิจัยล่าสุดภายใต้ชื่อโครงการ Com-COV ที่จัดตารางการฉีดวัคซีนสองสูตรดังกล่าวร่วมกัน โดยทิ้งช่วงระยะเวลาต่างๆ กันออกไป เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการผสมวัคซีน สรุปว่า ไม่ว่าจะเว้นช่วงห่างเพียงใด การใช้วัคซีนของแอสตราเซเนการ่วมกับวัคซีนของไฟเซอร์ ล้วนช่วยทำให้เกิดสารแอนตี้บอดี้ในปริมาณที่สูงมากเพื่อต่อต้านการเพิ่มขึ้นของโปรตีนโคโรนาไวรัสได้อย่างดี  ข้อมูลการวิจัยนี้เป็นการสนับสนุนการตัดสินใจของรัฐบาลบางประเทศในยุโรปที่เริ่มนำเสนอวัคซีนตัวอื่นสำหรับเข็มที่ 2 ซึ่งไม่ใช่ของแอสตราเซเนกา หลังมีรายงานเกี่ยวกับปัญหาลิ่มเลือดแข็งตัวของผู้รับวัคซีนตัวดังกล่าว
  • (+/-) ปอนด์แข็งค่า ขานรับรมว.สาธารณสุขอังกฤษหนุนยกเลิกล็อกดาวน์  เงินปอนด์แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (28 มิ.ย.) หลังจากนายซาจิด จาวิด รัฐมนตรีสาธารณสุขคนใหม่ของอังกฤษประกาศว่า เขาต้องการให้อังกฤษยกเลิกมาตรการคุมเข้มการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งหมดตามกำหนดเดิมในวันที่ 19 ก.ค.นี้ ส่วนสกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ก่อนที่ทางการสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.04% แตะที่ 91.8864 เมื่อคืนนี้  เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.3877 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3875 ดอลลาร์ ขณะที่ยูโรอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.1923 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1931 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7565 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7584 ดอลลาร์สหรัฐ  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 110.53 เยน จากระดับ 110.82 เยน แต่แข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9197 ฟรังก์ จากระดับ 0.9176 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2342 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2306 ดอลลาร์แคนาดา
  • (+/-) นักวิเคราะห์คาดโอเปกพลัสเพิ่มการผลิต 500,000 บาร์เรล/วันในเดือนส.ค.  กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส จะจัดการประชุมกำหนดนโยบายการผลิตน้ำมันในสัปดาห์นี้  ทั้งนี้ โอเปกพลัสจะจัดการประชุมในวันที่ 1 ก.ค. ซึ่งจะกำหนดนโยบายการผลิตน้ำมันในเดือนส.ค. โดยคาดว่าโอเปกพลัสจะพิจารณาปัจจัยต่างๆ ได้แก่ อุปสงค์น้ำมันจากสหรัฐ ยุโรป และจีน รวมทั้งแนวโน้มที่อิหร่านจะกลับมาส่งออกน้ำมันในตลาด

โดย : บริษัท ซินเนอร์จี้ คอมโมดิตี้ส์ เทรด จํากัด

คำแนะนำ   :   ทองยังเคลื่อนไหวแคบรอการ BREAKOUT จับตาตัวเลขสำคัญเริ่มทยอยประกาศทุกวัน
 
แนวรับ 1770/1763| 1750   แนวต้าน 1795|1800|1820
              Gold/silver           USD                       Baht        DOW (stock)
ระยะสั้น   SW/SW DOWN   SW/SW UP           SW           SW  
ระยะกลาง  SW                         SW                      SW         SW UP
ระยะยาว NEUTRAL  BULLISH  NEUTRAL BULLISH
คำแนะนำรายวัน SIDEWAYS  1760-1800
จุดเข้า BUY 1740-50
เป้าหมาย 1800
SL 1730
รายสัปดาห์
คำแนะนำรายเดือน 1700-1900
จุดเข้า BUY 1730-55
เป้าหมาย 1850-1900
SL 1700
บทวิเคราะห์ : ลักษณะราคาทองเคลื่อนไหวแคบมานานหลายวัน รอการระเบิดทิศทางด้านใดด้านหนึ่ง โดยตัวแปรจะมาจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่จะเริ่มทยอยประกาศทุกวันทั้งสัปดาห์ ขอให้เตรียมพร้อมกับความผันผวนรายวัน โดยรวมทองสามารถออกได้สองหน้า โดยถ้าตัวเลขทยอยประกาศออกมาดีขึ้นก็จะกดดันราคาทองลงไปเทสโซนแนวรับสำคัญ $1750  กรณียืนไม่ได้จะลงต่อเป็นระลอกสุดท้าย โดยตัวเลขที่สำคัญที่สุดจะเป็นตัวเลขการจ้างงาน NFP ในคืนวันศุกร์ที่คาดการณ์ว่าจะประกาศออกมาดีขึ้นกว่าเดือนก่อน ซึ่งจะไม่ดีกับทอง
ในทางเทคนิค ราคาทองยังเป็นการพักฐานจนกว่าจะทะลุ $1795 และยืน $1800 ได้ คำแนะนำรอเทรดตามการ BREAKOUT ของกรอบ $1770-95 จะดีกว่า / ควรปรับพอร์ตให้สบายรองรับความผันผวน หรือการ BREAKOUT / คาดว่าราคาทองพักฐานใกล้จบและเตรียมรีบาวด์

ที่มา : gold.in.th( 29 มิ.ย.64 )

- Advertisement -

Leave a Reply